หน้าแรก การศึกษาและเทคโนโลยี การศึกษา

ทปอ. แถลงชัด TCAS รอบที่1 “ไม่มีสอบข้อเขียน” ติดแล้วก็ต้องเรียนจนจบ ม.6

ตามที่สมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ได้ประกาศให้มีระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (Thai university Central AdmissionSystem: TCAS) ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 เป็นต้นไป โดยมีมหาวิทยาลัย/สถาบันเข้าร่วมในระบบ TCAS จำนวน 72 แห่ง จากข้อมูลจำนวนการรับนักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาจำนวน 65 แห่ง มีจำนวนประมาณการรับรวม 300,054 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2560) แบ่งการรับเป็น 5 รอบ ดังนี้ รอบที่ 1 จำนวน 78,951 คน รอบที่ 2 จำนวน 94,383 คน รอบที่3 จำนวน 61,617 คน รอบที่ 4 จำนวน 36,969 คน และรอบที่ 5 จำนวน 28,134 คน ซึ่งจำนวนการรับในรอบที่ 1 ที่เป็นการรับตรงโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน ไม่มีการสอบข้อเขียน และจำนวนการรับในรอบที่ 2 เป็นการรับแบบโควตา รวมกันทั้งสองรอบมีจำนวน 173,334 คน คิดเป็นร้อยละ 57.76 ของยอดประกาศรับทั้งหมด

สมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยขอชี้แจงดังนี้

1.คุณสมบัติและเกณฑ์การรับในรอบที่ 1 และรอบที่ 2 เป็นการรับจากกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เช่น นักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษแสดงออกซึ่งพรสวรรค์เฉพาะ (Talent)นักเรียนโควตา นักเรียนเครือข่าย นักเรียนในเขตพื้นที่ และนักเรียนในเขตพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ ไม่ได้เป็นการรับทั่วไป และสถาบันอุดมศึกษาเครือข่าย ทปอ. จะไม่มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้ในปีที่ผ่านมา
จำนวนการรับตรงในปี 2560ซึ่งเทียบได้กับการรับในรอบที่ 1-3 ของระบบ TCAS 61 พบว่าการรับตรงในปี 2560มีจำนวน 238,964 คน ในส่วนของการรับ TCAS61รอบที่ 1-3 มีจำนวน234,951คน แสดงให้เห็นว่าจำนวนการรับในรอบที่ 1-3 ในระบบ TCAS 61 มีจำนวนใกล้เคียงกับจำนวนรับในปีที่ผ่านมา ในสาขาวิชาหลักของประเทศ เช่น สาขาในโครงการ กสพท. ที่มีการประกาศรับในรอบที่ 3 ก็ไม่ได้มีจำนวนที่ลดลงแต่อย่างใด โดยในปี 2560รับจำนวน1,843 คน และในปี 2561 รับจำนวน 2,666 คน

2.ตามปฏิทินการสอบ ทปอ. จะประกาศผลผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือกรอบที่ 1 ในวันที่ 22 ธันวาคม 2560 ทั้งนี้นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ผ่านการคัดเลือกแล้วจะต้องอยู่ในชั้นเรียนให้ครบตามระยะเวลาของปฏิทินการศึกษาของโรงเรียนและนำใบเข้าชั้นเรียนในภาคการศึกษาสุดท้ายไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมดมายื่นต่อมหาวิทยาลัยในวันที่มีการมอบตัวเข้าเป็น นักศึกษา จึงจะถือว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนของการคัดเลือกเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษานั้นๆ ในกรณีที่มีการใช้ผลคะแนน SAT มาเป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในคณะแพทยศาสตร์นานาชาติหรือหลักสูตรนานาชาของบางมหาวิทยาลัยนั้น เนื่องจากข้อสอบ SAT มีมาตรฐานและน่าเชื่อถือทำให้การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรมีความเป็นสากล นักเรียนต่างชาติหรือนักเรียนในโรงเรียนจะสมัครได้สะดวก เพราะข้อสอบ SAT นั้นสามารถสอบได้ในหลายๆประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ผลการวิจัยสรุปได้ว่านักศึกษาที่สอบ SAT ได้ตามเกณฑ์ จะมีทักษะการอ่าน การวิเคราะห์ และการเขียนที่จะประสบความสำเร็จจนจบการศึกษาได้

3.การกำหนดเกณฑ์ คุณสมบัติ และจำนวนรับบุคคลในรอบต่างๆของสถาบันอุดมศึกษา เป็นการพิจารณาตามนโยบายการบริหารงานและดุลยพินิจอย่างรอบคอบจากสถาบันอุดมศึกษาที่ปรับเปลี่ยนและยืดหยุ่นไปตามบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปรวมทั้งสนองต่อนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการที่ต้องการให้นักเรียนอยู่ในชั้นเรียนครบตามระยะเวลาในปฏิทินการศึกษา สถาบันอุดมศึกษามีความเป็นอิสระทางวิชาการและยึดมั่นในหลักการที่จะผลิตบัณฑิต ที่เป็นกำลังคนที่มีคุณภาพเข้าสู่สังคมตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ของประเทศอย่างแท้จริง

4. ในกรณีที่มีการใช้ผลคะแนน SAT มาเป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในคณะแพทยศาสตร์นานาชาติหรือหลักสูตรนานาชาติของบางมหาวิทยาลัยนั้น เนื่องจากข้อสอบ SAT มีมาตรฐานและน่าเชื่อถือทำให้การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรมีความเป็นสากล นักเรียนต่างชาติหรือนักเรียนในโรงเรียน
จะสมัครได้สะดวก เพราะข้อสอบ SAT นั้นสามารถสอบได้ในหลายๆประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ผลการวิจัยสรุปได้ว่านักศึกษาที่สอบ SAT ได้ตามเกณฑ์ จะมีทักษะการอ่าน การวิเคราะห์ และการเขียนที่จะ
ประสบความสำเร็จจนจบการศึกษาได้

การกำหนดเกณฑ์ คุณสมบัติ และจำนวนรับบุคคลในรอบต่างๆของสถาบันอุดมศึกษา เป็นการพิจารณา
ตามนโยบายการบริหารงานและดุลยพินิจอย่างรอบคอบจากสถาบันอุดมศึกษาที่ปรับเปลี่ยนและยืดหยุ่นไปตามบริบท
ที่เปลี่ยนแปลงไปรวมทั้งสนองต่อนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการที่ต้องการให้นักเรียนอยู่ในชั้นเรียนครบตามระยะเวลาในปฏิทินการศึกษา สถาบันอุดมศึกษามีความเป็นอิสระทางวิชาการและยึดมั่นในหลักการที่จะผลิตบัณฑิต
ที่เป็นกำลังคนที่มีคุณภาพเข้าสู่สังคมตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ของประเทศอย่างแท้จริง

ที่มา: http://blog.eduzones.com