ตัวแทนจากซาอุดิอารเบียและโมร็อกโก วอนทุกคนเผยแพร่กลิ่นหอมของดอกไม้แห่งสันติภาพ เพื่อแทนกลิ่นไอแห่งความขัดแย้งในสังคม ในการสัมมนาอิสลามศึกษานานาชาติ ฯ ครั้งที่ 4 ณ วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ฯพณฯ เชค ดร.Ahmed Bin Hamad Jilan ที่ปรึกษาเลขาธิการองค์กรสันนิบาตมุสลิมโลก(Muslim World League – MWL) ประเทศซาอุดิอารเบีย ชื่นชมไทยเป็นสังคมต้นแบบด้านการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข กล่าวว่า ศาสนาอิสลามและทุกศาสนาในโลกล้วนมีแนวทางคำสอนและการปฏิบัติที่เอื้อต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และเห็นตรงกันว่าแนวคิดสุดโต่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อการอยู่ร่วมกัน และจะสร้างหายนะให้แก่สังคม
“แม้แต่ประเทศซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเป็นประเทศใหญ่ที่ประชาชนนับถือศาสนาอิสลาม มีศาสนสถานที่มีความสำคัญทางศาสนาอิสช่นเดียวกับแนวคิดการก่อการร้ายที่มีอยู่ทุกมุมโลก สาเหตุเกิดจากการตั้งเป้าหมายลามที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีทั่วโลก ก็มีนโยบายต่อต้านการก่อการร้ายและความรุนแรงในทุกรูปแบบ และต้องการจะสื่อให้โลกรู้ในความเป็นรูปแบบของประเทศที่ยึดแนวทางอิสลามสายกลาง มาเป็นแนวปฏิบัติ ความขัดแย้งเป็นพฤติกรรมตามธรรมชาติที่มีอยู่ในทุกสังคม เที่ต้องการให้เกิดความไม่สงบในสังคม และเป็นจิตสำนึกของบางคนที่ชอบการก่อความไม่สงบ โดยคนเหล่านี้จะไม่เป็นที่ต้องการของสังคม แต่การแก้ปัญหาการก่อการร้ายไม่จำเป็นต้องใช้กำลังเสมอไป
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการปรับเปลี่ยนความรู้ ความคิด ความเข้าใจ อิสลามสนับสนุนให้มีการเจรจาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันในสังคม เพื่อลดปัญหาในการอยู่ร่วมกัน โดยการศึกษาเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม อันจะช่วยลดความสุดโต่งและลดการก่อการร้าย ซึ่งวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยอิสลามศึกษาก็เป็นสถาบันหนึ่งที่เป็นแหล่งศึกษา และให้ข้อมูลเรื่องสิ่งที่ดีในอิสลาม”
ดร.Ahmed Bin Hamad Jilan กล่าวว่า จากการที่ได้มายังภาคใต้ของประเทศไทยได้เห็นภาพของความสงบความสันติสุข ซึ่งในอนาคตสามารถเป็นสังคมต้นแบบและเป็นตัวอย่างให้แก่สังคมโลก ขอขอบคุณชาวไทยต่างศาสนิกที่เข้าร่วมการประชุม ซึ่งแสดงถึงความเข้าใจและเคารพในความหลากหลายทางการนับถือศาสนาของประเทศไทย และแสดงถึงความตั้งใจในการร่วมมือกันต่อต้านความคิดที่สุดโต่ง รวมทั้งขอบคุณสื่อมวลชน ที่มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่สิ่งที่ดีงาม เป็นพลังขับเคลื่อนสังคมสู่สิ่งที่ดี โดยขอให้ทุกคนช่วยกันเผยแพร่กลิ่นหอมของดอกไม้แห่งสันติภาพ เพื่อแทนกลิ่นไอแห่งความขัดแย้งในสังคม
ด้านศาสตราจารย์ ดร.Mustapha Foudil ตัวแทนองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมอิสลาม ราชอาณาจักรโมร็อกโก หรือ ISESCO ระบุการปรับแนวคิดเพื่อสิ่งที่ดีขึ้นต้องอาศัยเวลาและความอดทน ซึ่งมีหน้าที่หลักในการดูแลการศึกษาทั้งในระดับโรงเรียนและมหาวิทยาลัยในโมร็อกโก ได้ปาฐกถาในหัวข้อ “การศึกษาอิสลาม:พื้นฐานความเข้าใจนิยามอัตลักษณ์” กล่าวว่า ตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนศึกษาคือครู
“ครูที่ดีต้องมีทั้งความรู้และพลังสติปัญญา หลักในการพัฒนาครูและผู้เรียนเพื่อนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจเป็นหลักการสำคัญ ทั้งนี้ ความรู้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มนุษย์ได้ทำความรู้จักซึ่งกันและกัน ยอมรับในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น มีความเข้าใจตัวบทที่ถูกต้องและนำไปปฏิบัติในสังคม มีความเข้าใจที่ดีในสังคม ดังนั้น ถ้าเรามีความเข้าใจหลักศาสนาอิสลามที่ถูกต้องไม่บิดเบือน ทั้งครูและนักเรียนก็จะเป็นต้นแบบในการพัฒนาความรู้”
“มนุษย์หนีไม่พ้นความหลากหลายและความแตกต่าง ซึ่งเป็นอยู่แล้วในธรรมชาติของมนุษย์ มนุษย์ถูกสร้างมาให้มีความแตกต่างทั้งสังคมและรูปร่างหน้าตา ตัวหลักการที่ทำให้เราอยู่ในได้ท่ามกลางความหลากหลาย ในกระบวนการสันติภาพและสันติสุข คือต้องมีการยอมรับ การพูดคุยที่ดี แต่การปรับเปลี่ยนแนวคิดต่างๆ เพื่อสิ่งที่ดีขึ้นต้องอาศัยเวลา ความอดทน และมีหลักการที่ชัดเจน” ศาสตราจารย์ ดร.Mustapha Foudil กล่าว