หน้าแรก ข่าวในประเทศ ข่าวชายแดนใต้

การพัฒนาอาชีพปศุสัตว์ภายใต้โครงการเมืองต้นแบบ สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน

การพัฒนาอาชีพปศุสัตว์ภายใต้โครงการเมืองต้นแบบ สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน

แนวคิด

  1. สร้างรายได้อย่างมั่นคง ยั่งยืนให้แก่เกษตรกรรายย่อย โดยใช้สัตว์ประจำถิ่นที่ได้รับการยอมรับ เป็นที่นิยมของบุคคลทั่วไป เช่น ไก่เบตง แพะพื้นเมือง โคพื้นเมือง เป็นต้น ด้วยการสร้างเกษตรกร Smart Farmer พัฒนา และขับเคลื่อนเครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์

– รูปแบบการขับเคลื่อน โดยความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน สถานศึกษา ปราชญ์ชาวบ้าน และเกษตรกร เริ่มที่การวิจัยและพัฒนาของภาครัฐเพื่อให้ได้สายพันธุ์สัตว์ที่มีลักษณะเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ภูมิสังคม และสอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งตลาดในท้องถิ่นและตลาดประเทศเพื่อนบ้าน เมื่อได้สายพันธุ์สัตว์ที่เหมาะสมแล้ว ใช้รูปแบบวิธีการต่างๆในการกระจายและขยายพันธุ์สัตว์เหล่านั้นให้แก่ผู้นำเครือข่ายเกษตรกรที่มีประสบการณ์ ปราชญ์ชาวบ้าน Smart Farmer เพื่อขยายเพิ่มปริมาณและกระจายพันธุ์สัตว์ที่ดี ไปสู่เกษตรกรรายย่อยที่มีความพร้อมและประสงค์ในการประกอบอาชีพปศุสัตว์

– เกษตรกรรายย่อยได้รับพันธุ์สัตว์ที่ดี เหมาะสม นำมาเลี้ยงเพื่อการผลิต เพิ่มปริมาณ ให้มีจำนวนที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด อย่างเพียงพอและต่อเนื่อง

  1. สร้างรายได้อย่างยั่งยืนให้แก่ผู้ประกอบกิจกรรมด้านแปรรูปและด้านการตลาด โดยประชารัฐ เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย รูปแบบ ของชนิดและประเภทสินค้า เพื่อบริหารจัดการในการรับผลผลิต แปรรูป และจำหน่ายสินค้า ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยต้องมีความต่อเนื่องตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อสร้างรายอย่างยั่งยืน

ชนิดสัตว์ที่สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่

  1. ไก่เบตง

ด้านการผลิตสายพันธุ์ไก่เบตง : โดยศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ (กรมปศุสัตว์) ผลิตสายพันธุ์ไก่เบตง สนับสนุนให้แก่ เกษตรกรเครือข่าย (ปราชญ์ชาวบ้าน Smart Farmer ด้านการเลี้ยงไก่เบตง)

ด้านการขยายและกระจายพันธุ์ไก่เบตง : โดยเกษตรกรเครือข่ายการผลิตลูกไก่เบตง รับพ่อแม่พันธุ์ไก่เบตงมาเลี้ยงเพื่อการผลิตลูกไก่ และจำหน่ายให้แก่เกษตรกรเครือข่ายรายย่อยที่มีความพร้อม เหมาะสมและมีความประสงค์ในการเลี้ยงเพื่อการผลิตไก่เบตงเพื่อจำหน่ายให้แก่ตลาด

ด้านการแปรรูปและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ : โดยประชารัฐ และสถานศึกษา บริหารจัดการในการวิเคราะห์ความต้องการด้านการตลาด ทั้งชนิด ประเภท และปริมาณของสินค้า เช่น ความต้องการการบริโภคไก่ที่ชำแหละ ไก่สด หรือไก่ที่แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ โดยมีเป้าหมายจำหน่ายให้แก่ ประชาชนในพื้นที่ นักท่องเที่ยว เพื่อสร้างรายได้กลับเข้าสู่ระบบได้อย่างยั่งยืน ต่อเนื่อง

  1. แพะพันธุ์แบคเบงกอล (แพะดำ)

ด้านการผลิตและพัฒนาสายพันธุ์แพะ : โดยศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ (กรมปศุสัตว์) ผลิตและพัฒนาสายพันธุ์แพะ ให้มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และเหมาะสมต่อเกษตรกรในสภาพการเลี้ยงในพื้นที่ สนับสนุนให้แก่ เกษตรกรเครือข่ายเลี้ยงสัตว์พันธุ์ดีของกรมปศุสัตว์ (ปราชญ์ชาวบ้าน Smart Farmer ด้านการเลี้ยงแพะ) และการพัฒนาสายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ เช่น การผสมเทียม การย้ายฝากตัวอ่อน ให้แก่เกษตรกรที่เลี้ยงแพะอยู่เดิม เพื่อการพัฒนาสายพันธุ์ที่มีความเหมาะสมต่อความต้องการของตลาด

ด้านการขยายและกระจายพันธุ์แพะ : โดยเกษตรกรเครือข่ายสัตว์พันธุ์ดี รับพ่อแม่พันธุ์แพะมาเลี้ยงเพื่อการผลิตลูกแพะ เพิ่มปริมาณแพะด้วยวิธีการทางธรรมชาติและวิธีการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อให้ได้ลูกแพะที่มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอที่จะจำหน่ายให้แก่เกษตรกรเครือข่ายรายย่อยที่มีความพร้อม เหมาะสมและมีความประสงค์ในการเลี้ยงเพื่อการผลิตจำหน่ายเข้าสู่ตลาดทั้งตลาดสัตว์มีชีวิตและตลาดเพื่อการแปรรูป

ด้านการแปรรูปและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ : โดยประชารัฐ และสถานศึกษา บริหารจัดการในการวิเคราะห์ความต้องการด้านการตลาด ทั้งชนิด ประเภท และปริมาณของสินค้า เช่น ความต้องการการบริโภคเนื้อสัตว์ชำแหละ แพะเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และเพื่อนำมาสร้างผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายประเภทต่างๆ ทั้งเพื่อการบริโภค เครื่องสำอาง หรือสินค้าประเภทอื่น ตลอดจนจัดทำตลาดสินค้าออนไลน์เพื่อเป็นช่องทางการตลาดอีกรูปแบบหนึ่ง

  1. โคพื้นเมือง (โคชน/โควากิว)

ด้านการผลิตและพัฒนาสายพันธุ์ : โดยศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพ (กรมปศุสัตว์) ให้บริการผสมเทียม ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโค เพื่อพัฒนาสายพันธุ์โคให้มีลักษณะและคุณภาพเป็นไปตามความต้องการของตลาดในพื้นที่ และตลาดผู้บริโภคสำหรับนักท่องเที่ยว

ด้านการขยายและกระจายพันธุ์โค : โดยสนับสนุนโครงการ/งบประมาณ เพื่อให้เกษตรกรที่มีความพร้อมและมีศักยภาพ ได้รับโอกาสในการเข้าร่วมโครงการเลี้ยงโคเพื่อการผลิต สำหรับจำหน่ายเป็นโคมีชีวิตที่รับซื้อทั่วไปและจำหน่ายเป็นโคเนื้อคุณภาพสูง

ด้านการแปรรูปและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ : โดยประชารัฐ และสถานศึกษา บริหารจัดการในการวิเคราะห์ความต้องการด้านการตลาด ทั้งชนิด ประเภท และปริมาณของสินค้า เช่น ความต้องการการบริโภคเนื้อโคทั่วไป ตลาดเนื้อโคคุณภาพ และตลาดต่างประเทศ ภาครัฐจัดตลาดนัดโคเพื่อเป็นแหล่งจำหน่าย แลกเปลี่ยนโค เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และจัดทำตลาดสินค้าออนไลน์เพื่อเป็นช่องทางการตลาดอีกรูปแบบหนึ่ง