หน้าแรก ข่าวในประเทศ ข่าวชายแดนใต้

ภาคประชาสังคมหารือกับกองทัพภาคที่ 4 หาความร่วมมือสร้างสันติสุข

ภาคประชาสังคมร่วมหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กับ พล.ท.ปิยวัฒน์ นาควานิช แม่ทัพภาคที่ 4 และ ผอ.รมน.ภาค 4 ณ ศูนย์สันติวิธี ค่ายสิรินธร อ.ยะรัง จ.ปัตตานี เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 เนื่องจากรัฐบาลกำหนดแนวทางการพูดคุยเพื่อสันติสุขเป็นทางออกของการแก้ปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จประการหนึ่ง คือบทบาทขององค์กรและเครือข่ายภาคประชาสังคม ในฐานะของการเป็นโซ่ข้อกลาง ที่เชื่อมประสานระหว่างคู่เจรจา ซึ่งจะเป็นหนทางหนึ่งในการแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งทางสันติวิธี และสร้างความไว้วางใจ ความร่วมมือระหว่างกันต่อไป

แม่ทัพภาคที่ 4 กล่าวสรุปว่า เห็นด้วยกับการพูดคุยและภาคประชาชน หากต้องให้เห็นว่าอนาคตจะได้อะไร จะได้พูดคุยกันต่อไป และทุกคนต้องช่วยกัน

เรื่องพื้นที่ปลอดภัย เป้าหมายรักษาความปลอดภัยของประชาชน ผมบอกไม่ได้เพราะเป็นความลับ”

“เรื่องท้าทายต่อกอรมน. ไม่มีอะไรท้าทายนอกจากคน คนคือจุดใหญ่ เรื่องภาษาคนต้องพูดกันรู้เรื่อง”

s__20193283

ด้านพันเอกปราโมทย์ พรหมอินทร์ โฆษกกอ.รมน.ภาค 4สน. ชี้แจงว่า ยุทธศาสตร์รัฐในเรื่องภาคใต้มีสามระยะ คือ 1. ปี 2547-53 การควบคุมสถานการณ์ ทำการหยุดเลือดไหล เพราะมีความวุ่นวาย ก่อความไม่สงบทั่วพื้นที่ 2. ปี 2554-ปัจจุบัน สร้างเข้มแข็งฝ่ายพลเรือน ถอนทหารกลับ ตำรวจขยายกำลังมากพอ กำลังของผู้ว่าราชการจังหวัดเข้มแข็ง ขณะนี้ได้จัดการ กำลังพล 8,000 อัตรา ถอนกำลังออกแล้วในปีนี้ 3. ระยะพัฒนาอย่างยั่งยืน ทำการการบริหารปกติโดยผู้ว่าฯ แต่ยังไม่ถึงขั้นนี้ ในตอนนี้ถือว่าเป็นระยะที่สองตอนปลาย

พลโทชินวัตร์ แม้นเดช รองแม่ทัพภาคที่ 4 กล่าวว่า ตนเองเป็นผู้แทนของกองทัพบก และแต่งตั้งพลตรีวิทยา เป็นผู้แทนคณะพูดคุยฝ่ายไทย การพบปะในครั้งล่าสุด เป็นการพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการและมีการก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรมเป็นครั้งแรกคือ มีการตกลงตั้งพื้นที่ปลอดภัย ตั้งกรรมการร่วมในการศึกษาการก่อตั้งพื้นที่ปลอดภัย โดยได้พิจารณาพื้นที่ปลอดภัยว่ามี 4 แบบ คือแบบตามพื้นที่ (territories) อำเภอ ฯลฯ แบบที่เสนอโดยวาระผู้หญิง เป้าหมายตัวบุคคลซึ่งเสนอโดยภาณุ และแบบอื่นๆ แล้วแต่ข้อเสนอ ขณะนี้คณะกรรมการกำลังทำข้อสรุปเพื่อเสนอปลายเดือนนี้

ส่วนสำนักส่งเสริมการสร้างสันติสุข มีหน้าที่รับผิดชอบคือ สร้างสัมพันธ์ประชาสังคม สร้างสภาวะแวดล้อม พื้นที่กลางส่งเสริมสันติสุข สร้างสภาวะแวดล้อมเพื่อออกจากความขัดแย้งอย่างสันติ การวิจัยทางวิชาการ เป็นผู้สร้างสภาวะแวดล้อมเอื้อต่อพูดคุย(Common Space) และ การทหารตาม” การเมืองขยาย” เตรียมความพร้อมพัฒนาในแนวสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ

s__20193285นายมูฮำมัดอายุบ ปาทาน ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้ กล่าวว่า ภาคประชาสังคมขับเคลื่อนไม่ได้ต้องการอำนาจรัฐ แต่ต้องการนำเสนอความต้องการของประชาชนว่าต้องการอะไรหรือต้องการเห็นการพูดคุยเพื่อสันติภาพแบบไหน แม้ภาคประชาสังคมบางกลุ่มจะมีความเห็นที่แตกต่างกันแต่มีเป้าหมายเดียวกันคือ หาทางออกโดยไม่ใช้ความรุนแรง จึงต้องเชิญทุกกลุ่มประชาสังคมมาพูดคุยพร้อมกัน

“จะเห็นได้ว่าบางครั้งเรานับเขาเป็นปัญหา แต่เมื่อมีการพูดคุยเพื่อที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหา เรากลับไม่นับเขาเข้ามาร่วมพูดคุยด้วย ซึ่งในความเป็นจริงแล้วกระบวนการสันติภาพจะต้องนับรวมทุกคนมาสู่การแก้ไขปัญหา

ประเด็นที่สำคัญคือ เราจะทำอย่างไรให้เกิดการรายงานข่าวอย่างมีวิสัยทัศน์ ที่สามารถชี้ให้เห็น “คุณค่า” ของกระบวนการสันติภาพ ให้สามารถแทรกซึมลงสู่พื้นทีให้ผู้คนได้ตระหนักว่า การต่อสู้ของประชาสังคมโดยไม่ใช้ความรุนแรงมีความสำคัญอย่างไร”