เกาะบูงิน (Pulau Bungin) ตั้งอยู่ที่เมืองซุมบาวา ทางด้านเอเชียอาคเนย์ตะวันตก ซึ่งถูกขนามนามว่าเป็นเกาะที่เล็กที่สุด โดยที่ไม่มีอาณาเขตชายฝั่งและไม่มีแม้กระทั่งทุ่งหญ้าท้องนาแม้แต่น้อย จำนวนประชากรมีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในขณะที่พื้นที่ที่อยู่อาศัยมีอยู่เพียงจำกัด ซึงทำให้ดูเป็นที่คับแคบถนัดตา
ในช่วงที่ข้าพเจ้าเดินทางไปยังเกาะบูงินแห่งนี้ในช่วงเช้าตรู่ ข้าพเจ้าจะเห็นชาวบ้านกลุ่มหนึ่งที่กำลังสาละวนอยู่กับการข่นส่งปลาทะเลสดๆ ด้วยรถเครื่องเพื่อไปยังตลาดสดที่เมืองอาลัส ซึ่งใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมงในการเดินทาง
พวกเขาจะต้องผ่านสะพานแห่งหนึ่งที่เพิ่งก่อสร้างเสร็จประมาณหนึ่ง ที่เชื่อมระหว่างเกาะแห่งนี้กับชายฝั่ง
ในขณะที่ชาวบ้านที่เป็นผู้หญิงบางคนได้หมดเวลาไปกับการหุงหาอาหารอยู่ในครัวที่ตั้งอยู่ด้านล่างของบ้านพักของพวกเขา และในช่วงที่ข้าพเจ้าได้ขับรถตระเวนเที่ยวรอบๆ เมืองแห่งนี้ จะเห็นฝูงแพะที่พากันกัดแทะเศษขยะถุงพลาสติก และกล่องอาหารที่ทำจากกระดาษกินอย่างเอร็ดอร่อย
สัตว์เลี้ยงเหล่านี้ วันๆ จะกินแต่พวกขยะ เพราะว่าที่นี่ไม่มีต้นหญ้าขึ้นบนเกาะแห่งนี้แม้แต่น้อย ที่ตั้งอยู่บนสันทราย



ชนเผ่าบาโจ
ชาวบ้านส่วนใหญ่ที่นี่เป็นชนเผ่าบาโจ ที่มีความเป็นมาดั้งเดิมมาจากทางตอนใต้ของเมืองสุลาเวสี ที่อพยพเข้ามาอยู่ที่นี้มาประมาณกว่า 200 ปีที่แล้ว
และที่นี่ข้าพเจ้าได้พบกับมากาดียะฮ์ บิน ฮัจยี มูฮัมหมัด ซากัต ซึ่งเป็นผู้อาวุโสแห่งเกาะบูงินแห่งนี้ เขาเป็นผู้ชายที่เกิดบนเกาะแห่งนี้เมื่อปี 1937 ซึ่งถือเป็นชนรุ่นที่ห้าจากครอบครัวรุ่นแรกที่อพยพเข้ามาจากทางตอนใต้เมืองสุลาเวสี
เขาเปิดเผยว่า ชนเผ่าบาโจ เป็นชนเผ่าที่อพยพมาจากทางตอนใต้ของสุลาเวสมายังเกาะบูงิน
“บูงิน ในภาษาของเผ่าบาโจแล้วนั้นมีความหมายคือ เป็นเนินทรายสีขาว ในอดีตนั้นมันเป็นแค่เนินทรายเท่านั้น และต่อมาเมื่อมีการรวมตัวกัน พวกเขาได้มีการก่อสร้างบ้านเรือนเพื่อตั้งรกรากที่นี่ ด้วยการสร้างกับหินปะการัง” เขากล่าว
ในอดีตนั้นมันเป็นแค่เนินทรายเท่านั้น และต่อมาเมื่อมีการรวมตัวกัน พวกเขาได้มีการก่อสร้างบ้านเรือนบนเนินทรายแห่งนี้ขนานกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร
ปัจจุบันนี้มีจำนวนกว่า 3.000 คน ที่อาศัยอยู่บนเกาะบูงินแห่งนี้ ที่มีความกว้างเพียง 8,5 ไร่เท่านั้น จนบ้านแต่ละหลังสามารถอาศัยได้เพียง สองถึงสามคนเท่านั้นต่อหนึ่งครอบครัว
“ในขณะที่ในทุกๆ ปี จะมีการจดทะเบียนสมรสกันไม่ต่ำกว่า 30 คู่ ซึ่งทำให้พวกเขาเหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยรวมกัน ไม่ที่บ้านพ่อแม่ตัวเองก็อาจเป็นบ้านแม่ยาย ซึ่งทำมห้มีความแออัดของครอบครัว จนทำให้บางบ้านมีถึงสองถึงสามครอบครัวเลยทีเดียว” ทิสิน ซิฮาบุดดีน ชาวเกาะบูงินคนหนึ่งได้เปิดเผย


ความพยายามที่จะขยายพื้นที่
แต่มันไม่ใช่เรื่องง่ายในการรับมือกับปัญหาการขาดแคลนพื้นที่
การเพิ่มเติมเพื่อขยับขยายพื้นที่เพื่อการก่อสร้างที่อยู่อาศัยด้วยการสร้างบนหินก้อนกรวดที่มักจะทำโดยชาวบ้านบนเกาะแห่งนี้ ดูเหมือนว่าเป็นการทำลายระบบนิเวศ ถึงแม้ว่าชนเผ่าบาโจจะมีกฏกติกาห้ามการทำลายบุกรุกแนวหินปะการังก็ตาม
“ผู้คนที่นี่ค่อนข้างมีกติกาที่เคร่งครัดพอเพื่อที่จะช่วยกันอนุรักษ์แนวปะการัง เมื่อก่อนบรรพบุรุษของเราได้สอนไว้เกี่ยวกับวิธีการอนุรักษ์หิน นั่นหมายถึงเราไม่สามารถที่วางทอดเสาบนแนวปะการังเพื่อไม่ให้มันเสียหาย” ซิฮาบุดดีนกล่าว


ถึงกระนั้นเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นบางครั้งถูกละเลยโดยปริยาย อันเนื่องมาจากมีพื้นที่ที่ไม่เพียงพอ
“และด้วยการเดินทางของระยะเวลาที่ยาวนาน ที่นับวันยิ่งมีความแออัดและประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกทั้งปัญหาความต้องการที่อยู่เพิ่มขึ้นนับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งแต่ก่อนนั้นพวกเขาจะนำเอาปะการังที่ตายแล้วที่มีอยู่อย่างจำกัดนำมาสร้างพื้นที่ ที่นำเอามาจากระยะไกล แต่ปัจจุบันได้มีการนำเอาปะการังที่นี่แล้ว ซึ่งเป็นปะการังที่ยังมีชีวิต” เขากล่าว
และเพื่อเป็นการรับมือกับสภาวะการขาดแคลนพื้นที่นั้น ซิฮาบุดดีนพร้อมด้วยกลุ่มคนหนุ่มสาวแห่งเกาะบูลินคนอื่นๆ ได้มีความคิดริเริ่มที่จะดำเนินการถมทรายขึ้น แต่ก็ติดขัดกับกฏระเบียบของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น
“เราได้ทำการรวบรวมกลุ่มวัยรุ่นที่มีความต้องการที่จะมีพื้นที่ ในที่สุดพวกเราก็ได้รวบรวมทุนทรัพย์และได้ทำการถมทราย และต่อมาก็ถูกเจ้าหน้าที่ระงับการดำเนินงานจากเจ้าหน้าที่” ซิฮาบุดดีนกล่าว
เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นของเมืองซุมบาวาได้ดำเนินการตามมาตรการแห่งชาติเพื่อยับยั้งมิให้มีการถมดินบนฐานการพิจารณาจากสภาวะแวดล้อม และนอกจากปัญหาการขาดแคลนพื้นที่แล้ว ขยะและเรื่องสุขาภิบาลยังคงเป็นปัญหาสำคัญเช่นกัน
การใช้ชีวิตอย่างแออัดบนเกาะบูงินแห่งนี้ จะยังคงดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง เพราะว่าชนเผ่าบาโจที่อาศัยอยู่ที่นี่ ต่างมีความผูกพันกับแผ่นดินเกิดของตนเองอย่างชิดใกล้ จนแทบไม่มีให้เห็นเลยที่พวกเขาจะออกไปเสี่ยงโชค ณ ต่างถิ่นจากเกาะแห่งนี้

http://www.bbc.com/indonesia/majalah/2016/10/161019_majalah_pulau_bungin?ocid=socialflow_facebook