
สหรัฐอมเริกาจะให้การช่วยเหลือสนับสนุนด้านงบประมาณทางการทหารให้กับอิสราเอลเป็นระยะเวลา 10 ปี ข้างหน้า เป็นจำนวน 38 ล้านล้าน ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นการส่งความช่วยเหลือด้านการทหารที่มากที่สุดในประวัติกาลของอิสราเอลแลสหรัฐ
ในปัจจุบันนี้มูลค่าการช่วยเหลือด้านการทหารของสหรัฐอเมริกาที่ส่งไปยังอิสราเอลอยู่ 3.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี แต่อย่างไรก็ตามกล่าวกันว่า ทางอิสราเอลจะต้องดำเนินการสัมปทานเพื่อให้ได้งบประมาณดังกล่าว
ข้อตกลงร่วมกันที่มีกำหนดการจะลงนามในวันพุธที่ 14 กันยายน 2016 นี้ เป็นผลของการเจรจากว่าสิบครั้งที่ผ่านมาก่อนหน้านี้
ข้อตกลงร่วมกันนี้ ถึงแม้ว่านายบารัค โอบามา จะมีความผิดหวังอยู่บ้างต่อกรณีการจัดตั้งนิคมชาวยิวอิสราเอลในดินแดนที่ไปยึดครอง
ข้อตกลงที่มีอายุสัญญาเป็นเวลากว่า 10 ปี ที่จะสิ้นสุดลงในปี 2018 ที่จะถึงนี้ “ถือเป็นข้อตกลงร่วมกันที่ใหญ่สุดเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือในด้านการทหารของทั้งสองประเทศในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา” โฆษกกระทรวงการต่างประเทศเปิดเผย
การให้ความช่วยเหลือในรูปแบบงบประมาณมีจำนวนถึง 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐในทุกๆ ปี เพื่อใช้ในภารกิจการลาดตระเวน
แต่อย่างไรก็ตามการให้ความช่วยเหลือด้านการทหารดังกล่าว ต้องผ่านธุรกิจอุตสาหกรรมด้านการหทารของสหรัฐเองไม่ได้ผ่านกิจการของอิสราเอลแต่อย่างใด
อิสราเอลเองไม่สามารถที่จะหางบประมาณที่อื่นๆ มาเสริม ที่อยู่นอกเหนือข้อตกลงในการลงนามร่วมในครั้งนี้

ประธานาธิบดีบารัค โอบามา พยายามที่จะสนับสนุนในด้านความมั่นคงให้กับอิสราเอล เพื่อเป็นการลบข้อครหาที่ว่า ทางสหรัฐอเมริกาไม่ได้ให้การสนับสนุนปกป้องความมั่นคงของคู่พันธมิตรของเขาที่อยู่ในตะวันออกกลาง
นายกรัฐมนตรีอิสราเอล เบนจามิน เนทันยาฮู ก่อนหน้านี้ ได้ออกมาประกาศว่า เขาอาจรอประธานาธิบคนใหม่ที่จะมาแทนที่นายบารัคโอบามา เพื่อให้ได้รับความร่วมมือที่ดีกว่า
ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศดังกล่าวเริ่มมีความเปลี่ยนแปลงซบเซาลง นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2015 ในช่วงที่เนทันยาฮูได้ปรากฏตัวในรัฐสภาสหรัฐอเมริกา เพื่อเข้าไปล็อบบี้สภาความมั่นคงของสหรัฐอเมริกา เพื่อให้มีการยับยั้งให้มีการยกเลิกกรอบข้อตกลงร่วมกันทางทหารระหว่างสหรัฐอเมริกากับอิหร่าน ที่ผลักดันโดยนายบารัค โอบามา
ทางด้านเจ้าหน้าที่ระดับสูงได้เปิดเผยว่า มีความเป็นไปได้ว่านายบารัค โอบามาและเนทันยาฮู อาจจะมีการพบปะกันในช่วงการประชุมที่สำนักงานสหประชาชาติ ที่นครนิวยอรก์

ในภาพ เนทันยาฮู ในสภาความมั่นคงของสหรัฐ ในโอกาสการเดินทางเพื่อล็อบบี้ยับยั้งข้อตกลงร่วมของสหรัฐกับอิหร่าน ภาพ เอเอฟพี
การจัดตั้งนิคมของอิสราเอลที่ฉนวนกาซ่าและทางตอนเหนือของเยรูซาเล็ม ถือเป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งของทั้งสองประเทศ
เมื่อเดือนที่แล้ว ทางทำเนียบขาวได้ออกมาประนามอิสราเอล ในเรื่องการเร่งรัดแสดงละคร การจัดตั้งนิคมชาวยิวในดินแดนปาเลสไตน์ที่ยึดครอง
ทางวอร์ชิงตันได้ออกมาเปิดเผยด้วยว่า นโยบายของนายกรัฐมนตรีเนทันยาฮูและความรุนแรงที่เกิดขึ้นในปาเลสไตน์ ถือเป็นอุปสรรคสำคัญในการแสวงหาสันติภาพในอนาคต
http://www.bbc.com/indonesia/dunia/2016/09/160914_dunia_rekor_bantuan_as_israel?ocid=socialflow_facebook