รัฐบาลติมอร์เลสเต้ได้เตรียมแผนที่จะก่อสร้างสถานเพาะเลี้ยงจระเข้ ด้วยเหตุผลเพื่อแก้ไขปัญหาและหยุดยั้งการเสียชีวิตของผู้คนที่เกิดจากการถูกจระเข้ทำร้าย และด้วยการดำเนินการดังกล่าวนี้ ทางรัฐบาลติมอร์เลสเต้หวังว่าจะสามารถช่วยในเรื่องการส่งออกเนื้อและหนังของจระเข้อีกด้วย ซึ่งมาตรการดังกล่าวเป็นสิ่งตรงกันข้ามกับความเชื่อของคนในท้องถิ่น ที่เชื่อว่าสัตว์จระเข้ถือเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนให้ความเคารพนับตั้งแต่อดีต
ณ ฐานทัพแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ชานเมืองหลวงของติมอร์เลสเต้ กรุงดิลี ที่มีจระเข้น้ำจืดที่เลื่องชื่อสองตัวอาศัยอยู่ คือจระเข้ที่ชื่อ อันโยนิวส์ และ มาเรีย

ซึ่งสัตว์ดังกล่าวได้กลายเป็นตัวสัญลักษณ์ประจำกองทัพบกของติมอร์เลสเต้อีกด้วย และถือเป็นตัวสัญลักษณ์ที่ถูกนำมาใช้โดยอดีตนายพลโตโต ซูรัตมัน ซึ่งเป็นหัวหน้านายตำรวจของอินโดนีเซียเมื่อ 24 ที่แล้ว เมื่อช่วงสมัยการปกครองของอินโดนีเซียในจังหวัดติมอร์เลเสต์
นายตำรวจท่านหนึ่งชื่อ ซีโดเนียว บาร์โรส ได้ชวนให้ผมไปดูจระเข้สองตัวดังกล่าวผ่านกำแพงหลวดหนามที่ขวางกั้น
ตำรวจวัย 23 คนดังกล่าว ได้สั่นกิ่งไม้ก่อนที่จระเข้ตัวเขื่องตัวหนึ่งจะโผล่หัวขึ้นมาจากผิวน้ำ ซีโดเนียว ได้ยิ่นมือไปลูบจมูกจระเข้น้ำหนักประมาณ 300 กิโลกรัม ด้วยความนุ่มนวล
นายตำรวจคนดังกล่าวได้กล่าวว่า จระเข้ดังกล่าว เสมือนเป็นสมาชิกครอบครัวของเขา เป็นหนึ่งในบรรพบุรุษของเขา จากนั้นเขาได้หันไปยังจระเข้ และแนะนำตัวผมให้กับจระเข้ตัวดังกล่าวด้วยความสุภาพเช่นกัน

ติมอร์เลสเต้เป็นอดีตเมืองขึ้นของประเทศโปรตุเกส ซึ่งผู้คนส่วนใหญ่แล้วจะนับถือคาทอลิก
อย่างไรก็ตามอิทธิพลของพิธีกรรมจากบรรพบุรุษยังคงมีอยู่ในดินแดนแห่งนี้
ประชาชนติมอร์เลสเต้ยังให้ความเคารพบูชาจระเข้ และยังมีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับจระเข้อีกมากมายที่น่าค้นหา
อย่างมีเรื่องราวหนึ่งที่กล่าวว่า ติมอร์เลสเต้ถือเป็นดินแดนของจระเข้มาก่อนที่จะมาเป็นเกาะด้วยซ้ำ ซึ่งตามภาษาถิ่นจระเข้เขาเรียกว่า อาโบ ซึงโดยความหมายแล้วหมายถึง คุณปู่ (บรรพบุรุษ)
อันโตนีโอ เฟนสีคา หัวหน้าหมู่บ้าน ตูตัวลา เขายังยืนยันว่า มนุษย์กับจระเข้นั้นมีความสัมพันธุ์กัน
“จระเข้และมนุษย์นั้นถือเป็นครอบครัวเดียวกัน เราเป็นเพื่อนกัน ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นและไม่ว่าเราจะไปยังที่ใดก็ตาม ความสัมพันธ์ดังกล่าวย่อมมิอาจตัดขาดกันได้ ซึ่งพวกเราเชื่อว่าบางส่วนของพวกเรานั้น ส่วนหนึ่งได้ขึ้นมาบนบก และบางส่วนนั้นได้ลงสู่ทะเล ซึ่งกลุ่มที่อยู่บนบกมิอาจลงสู่ทะเล และกลุ่มที่ลงสู่ทะเลมิอาจที่จะขึ้นฝั่งได้” เขากล่าว

จากนั้นเขาได้แนะนำให้ผมได้รู้จักกับหัวหน้าชนเผ่าที่นี่ กับนิโคเลา เด ซันตานา
“จระเข้ได้วิวัฒนาการจนกลายเป็นมนุษย์ จนพวกเขาสามารถเดินได้ สามารถเข้าไปในป่า และสามารถเดินไปไหนมาไหนบนบกได้อย่างมีอิสระ จนพวกเขาได้กลายเป็นมนุษย์ในที่สุด”
“ซึ่งทุกคนที่อยู่บนโลกนี้ล้วนมาจากพวกมัน พระเจ้าได้ลิขิตโชคชะตาของพวกเขาไว้ บางส่วนของพวกมันมีชีวิตอยู่ในทะเล บางส่วนก็ใช้ชีวิตอยู่ในแม่น้ำ”
จระเข้บางสายพันธุ์อาศัยอยู่ในน้ำจืดทางตอนใต้ของติมอร์เลสเต้ ความยาวของลำตัวยาวถึงแปดเมตรก็มี และเคลื่อนไหวอย่างช้าๆ ทั้งในน้ำและในป่าพรุ ซึ่งมีบางกรณีที่อาจมีการทำร้ายผู้คน
ครั้นที่ติมอร์เลสเต้อยู่ภายใต้การปกครองของอินโดนีเซีย ที่สิ้นสุดลงเมื่อปี 1999 การปราบปรามจระเข้จึงได้เริ่มขึ้น
อย่างไรก็ตามเมื่อติมอร์เลสเต้ได้รับเอกราชเมื่อ 16 ปีที่ผ่านมา จระเข้นำจืดได้มีการขยายตัวอย่างอิสระและอาณาบริเวณของพวกมันมีความกว้างขวางมากขึ้น ไปจนถึงบริเวณที่ผู้คนอาศัยอยู่และบริเวณที่ผู้คนหาปลา
อ้างจากแหล่งข้อมูลของทางการติมอร์เลสเต้ มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 18 คนและบาดเจ็บอีก 70 คน ที่เกิดจากการทำร้ายของจระเข้ในรอบ 15 ปีให้หลัง แต่ยังเชื่อว่ายังมีอีกหลายรายเสียส่วนใหญ่ที่ไม่ได้แจ้งให้ทราบถึงความสูญเสียที่เกิดจากการทำร้ายของจระเข้

ทางด้านรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมของติมอร์เลสเต้ คอนสตานซีโอ ปินโต ได้กล่าวว่า จระเข้ดังกล่าวถือเป็นภัยอันตรายอย่างยิ่ง
“เมื่อหลายปีก่อนให้หลัง เราได้ทราบถึงจำนวนของจระเข้ที่เพิ่มมากขึ้น พวกมันมีการแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็ว ซึ่งความจริงแล้วเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ใช่เรื่องธรรมดา เราไม่ทราบว่าทำไม่ถึงเป็นเช่นนี้? อาจเป็นเพราะว่าความเปลี่ยนแปลงของภูมิศาสตร์ก็เป็นได้ จำนวนของจระเข้ในแม่น้ำนับวันยิ่งสูงขึ้น และมีบ่อยครั้งที่เห็นพวกมันออกมาเดินตากแดดกลางเมือง ซึ่งคุณก็สามารถที่จะเห็นพวกมันแถวชายหาด” เขากล่าว
โดยส่วนใหญ่ของคนที่นี่ โดยเฉพาะในเขตตูลูเวร่า ส่วนใหญ่จะมีเพื่อนผ้องเครื่อญาติที่เสียชีวิตจากการถูกจระเข้ทำร้าย

เอลดา ได้อาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่อยู่ใกล้กับสุสานที่ฝั่งร่างของพี่ชายเขา ที่เสียชีวิตจากการถูกจระเข้ทำร้ายในขณะที่กำลังตกปลาอยู่เมื่อสองปีก่อน
ผมได้พบกับเอลดาในช่วงที่เขาเดินทางไปเยี่ยมสุสานพี่ชาย เอลดา ยอมรับว่าเขาไม่ได้โทษจระเข้เลยกรณีที่พี่ชายของเขาเสียชีวิต
“หากเราพูดถึงเรื่องราวที่มิดีมิร้ายเกี่ยวกับจระเข้ เราอาจไม่มีวันได้บุตร พวกมันมีความโกรธมากเมื่อหลายปีก่อนหน้านี้ ที่ตัวผมเองไม่ได้ให้ความเคารพพวกมัน ได้เอยชื่อพวกมัน และทิ้งก้นบุหรี่ลงในทะเล พวกมันมีสิทธิที่จะโกรธ” เอลดากล่าว
น้องสาวของหัวหน้าหมู่บ้านตุตัวลา อันโตนีโอ เฟนเซคา ก็เคยถูกจระเข้ทำร้ายมาแล้ว ในช่วงที่เขาอายุได้เพียง 14 ปี ซึ่งตามคำบอกเล่าของพวกเขา ผู้คนที่นี่ยังเชื่อว่าต้องมีอะไรที่ผู้ที่เสียชีวิตนั้นได้กระทำลงไป
“สาวในวัย 14 ปี ที่ย่อมปราศจากความผิดใดๆ แต่เมื่อเราได้สังเกตุดูมารดาและปู่ของเขาพบว่าได้มีกระทำการในสิ่งที่ผิด ซึ่งด้วยเหตุนี้เอง เรายังเชื่อเหลือเกินว่า หากจระเข้ได้ทำร้ายข้าพเจ้า มันต้องมีอะไรสักอย่างที่ข้าพเจ้าได้กระทำมันลงไป ในสายตาของมัน ตัวข้าพเจ้ามิอาจเป็นมนุษย์ที่ควรให้ความเคารพอีกต่อไป ข้าพเจ้าต้องเป็นผู้เคราะห์ร้าย ที่ต้องชดด้วยก้อนเนื้อเพียงก้อนเดียวที่ข้าพเจ้าต้องปล่อยเคราะห์ ที่อาจเป็นไปได้ว่าข้าพเจ้าได้เอยอะไรลงไปที่ไม่ดี กระทำในสิ่งที่ไม่ควรลงไป ”
ติมอร์เลสเต้ถือเป็นประเทศใหม่ที่มีความยากจนประเทศหนึ่งในเอเชีย หนึ่งในมาตรการที่จะกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจก็คือ ในด้านการท่องเที่ยว

บริเวณชายหาดและภูเขาเลากาที่มีความน่าหลงใหลถือเป็นต้นทุนสำคัญให้กับรัฐบาลติมอร์เลสเต้ ในการดึงดูดบรรดานักท่องเที่ยวให้เข้ามาท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในขณะเดียวกันถือเป็นการขจัดปัญหาความยากจนของประชาชนชาวชนบทให้หมดไป ทว่าเรื่องราวที่เกี่ยวกับจระเข้ทำร้ายผู้คนยังคงเป็นอุปสรรคหนึ่งในการดำรงไว้ซึ่งแผนดังกล่าว
“เรายังคงเชื่อกับเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้น แต่เราไม่ขอเป็นเหยื่อดังกล่าว” รัฐมนตรีกล่าว
“หากว่าจระเข้ไม่ได้ทำร้ายผู้คน เราไม่จำเป็นต้องขับไล่พวกมัน แต่เมื่อพวกมันกลับทำร้ายผู้คน จนเราต้องจับมาขังพวกมันในสถานที่ที่เหมาะสม ที่สำคัญไหนชีวิตผู้คนไหนชีวิตจระเข้?”
สถานที่เหมาะสมก็คือ สถานเพาะเลี้ยงจระเข้ ที่อยู่ห่างจากกรุงดิลีใช้เวลาในการเดินทาง 30 นาที
โจ คาร์ลอส เซเรส จากกระทรวงสิ่งแวดล้อมติมอร์เลสเต้ ได้ชักชวนให้ นักข่าว บีบีซี เดินทางไปแวะเยี่ยมบริเวณที่อาจขังจระเข้เพิ่มอีก 30 ตัว
“จระเข้มีคุณค่าทางเศษฐกิจที่สูง หนังของมันสามารถนำมาทำเสื้อแจกเกต รองเท้า กระเป๋า และเนื้อของมันยังสามารถขายได้อีก”
ผมได้ถามไปว่า การรับประทานเนื้อจระเข้สำหรับชาวติมอร์เลสเต้บางคนนั้น ถือเป็นการรับประทานเนื้อของครอบครัวตนเองด้วยไหม?
“มีอยู่สองทัศนะด้วยกัน บางคนก็เชื่อเช่นนั้น” เขากล่าว
ย้อนกลับไปที่หัวหน้าหมู่บ้านตูตัวลา บรรดาแกนนำทั้งหลายต่างรู้สึกกังวลต่อแผนการดำเนินการของรัฐบาลอย่างยิ่ง ที่อาจสร้างสถานเพราะเลี้ยงจระเข้อย่างเป็นระบบ

นางโจกินหา มาร์ติน หญิงชาวติมอร์ในวัย 64 ปี ดูเหมือนอยู่ในความหวาดกลัว ช่วงที่ผมชวนคุยเรื่องการจัดสร้างสถานเพาะเลี้ยงจระเข้ดังกล่าว
“อันตรายนั่น…แม้กระทั่งตอนที่ผมเอยชื่อมันก็อันตรายแล้ว นับประสาอะไรกับการไปขัดขวางการเป็นอยู่ของพวกมัน” นางกล่าว
แผนการของทางรัฐบาลมิอาจดำเนินการได้ นางกล่าวเสริม พร้อมกับส่งเสียงกระซิบและสั่นหัว “มันอาจเกิดอาเพศ” นางเสริม
นิโคเลา เด ซันตานา ผู้ที่เชื่อว่ามีพลังลี้ลับที่สามารถสนทนากับจระเข้ได้ได้กล่าวว่า ทางรัฐบาลติมอร์เลสเต้ จะต้องรับผิดชอบในสิ่งที่อาจเกิดขึ้น
โดยส่วนตัวแล้ว เขาไม่สามารถทำอะไรได้ เขากล่าว
http://www.bbc.com/indonesia/majalah/2016/08/160807_majalah_lingkungan_buaya_timorleste?ocid=socialflow_facebook