หลังจากราคายางพาราตกลงเหลือกิโลกกรัมละ 46 บาท เสียงเรียกร้องจากชาวสวนยางที่ได้ผลกระทบเริ่มดังกระหึ่มขึ้นมาเป็นระยะๆ
ล่าสุดสิทธิพร จริยพงษ์ ประธานสภาเกษตรกร จ.สุราษฎร์ธานีและรองประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เห็นว่าการที่รัฐบาลโดย คสช.ชดเชยค่าปุ๋ยไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 15 ไร่นั้น โดยภาพรวมมองว่าค่อนข้างน้อย ทั้งที่ช่วงที่หารือกันในที่ประชุมตนเองนำเสนอให้รัฐบาลชดเชยค่าปุ๋ยไร่ละ 2,520 บาท ไม่เกิน 25 ไร่ แต่ทางรัฐบาลขอชดเชยให้เท่ากับราคาข้าวไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 15 ไร่ จึงจำเป็นต้องรับในมติดังกล่าว และจากที่สอบถามชาวสวนยางพาราส่วนใหญ่รับได้หากรัฐบาลพยุงราคายางรมควันชั้น 3 ให้ได้กิโลกกรัมละ 60 บาท ส่วนราคายางแผ่นดิบคละหรือน้ำยาง คิดว่าราคาต้องขยับตามไปด้วยหากยางรมควันชั้น 3 ขยับสูงขึ้น
การแทรกแซงราคายาง จะมีการเคลื่อนไหวแน่นอน เพื่อให้ได้กิโลกรัมละ 60 บาท เพราะราคาต่อกิโลกรัมที่ต่ำกว่า 50 บาทในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อชาวสวนยางอย่างยิ่ง และนี่คือประเด็นที่ชาวสวนยางเริ่มเคลื่อนไหวเรียกร้องราคายางเกิดขึ้นแล้ว
แกนนำชาวสวนยางรายหนึ่ง บอกว่า ตนเองเคยตั้งความหวังกับรัฐบาลคสช.ไว้สูงในการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง แต่นับวันราคายางผันผวน และดิ่งลงทุกวัน ทำให้เสียความรู้สึกอย่างมาก เคยคิดจะชุมนุมประท้วงหลายครั้ง และเมื่อทราบว่ารัฐบาลชดเชยค่าปุ๋ยไร่ละ 1,000 บาท นับว่ายังน้อยมาก
“อยากให้รัฐบาลปรับลดราคาปุ๋ยหรือ ต้นทุนการผลิตและส่งเสริมคุณภาพ เชื่อจะไม่ปัญหาราคายางตกต่ำในระยะยาว แต่ดูเหมือนว่ารัฐบาลยังไม่เต็มที่กับการช่วยเหลือชาวสวนยาง โดยนำไปเปรียบเทียบกับการช่วยเหลือชาวนาไม่ได้ เพราะต้นทุนการผลิตต่างกันต้องดูจากความเป็นจริง แต่เมื่อผ่านมติครม.ไปแล้วก็ดีกว่าไม่ได้อะไรกับภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน” แกนนำชาวสวนยางรายนี้ ระบุ
ล่าสุดในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ที่ผ่านมาเมื่อวันที่ 28 ต.ค.ที่ผ่านมา นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ ระบุว่าตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อ 21 ต.ค. 2557 เห็นชอบมาตรการแก้ไขปัญหายางพาราทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งโครงการหนึ่งที่ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรชาวสวนยางในระยะ เร่งด่วน คือ โครงการชดเชยรายได้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 15 ไร่ เป้าหมาย 850,000 ครัวเรือน ซึ่งมีพื้นที่สวนยางเปิดกรีดที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีเอกสิทธิ รวมทั้งเอกสารสิทธิ 46 รายการตามหนังสือของกรมป่าไม้ ที่ ทส 1602.5/5527 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2555 ซึ่งพื้นที่สวนยางเปิดกรีดที่อยู่ในข่ายจะได้รับความช่วยเหลือประมาณ 8.2 ล้านไร่ ระยะเวลาดำเนินการ 6 เดือน วงเงินรวม 8,453.99 ล้านบาท แบ่งเป็นวงเงินจ่ายชดเชยเกษตรกร 8,200 ล้านบาท โดยใช้เงินทุนของธ.ก.ส.และธ.ก.ส. คิดต้นทุนในอัตรา FDR+1 และให้ ธ.ก.ส. จัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลเพื่อชำระคืนเงินต้นจากการดำเนินงานตามโครงการ และค่าชดเชยดอกเบี้ยธ.ก.ส. และค่าบริหารจัดการของหน่วยงานที่รับผิดชอบจำนวน 253.99 ล้านบาท วงเงินใช้จ่ายปีแรก จำนวน 253.99 ล้านบาท
ส่วนขั้นตอนการดำเนินงานหลังครม.มีมติ กระทรวงเกษตรฯโดยกรมส่งเสริมการเกษตรได้เตรียมแผนการดำเนินการให้โครงการดัง กล่าวให้เกิดความรวดเร็ว ถูกต้องและโปร่งใส เพื่อให้เงินช่วยเหลือดังกล่าวถึงมือเกษตรกร ประกอบด้วย 1. กรมส่งเสริมการเกษตรจะเปิดรับแจ้งให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการตั้งแต่ 1 พ.ย.-15 ธ.ค. 57 เข้าร่วมโครงการได้นั้นต้องเป็นเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราที่ขึ้นทะเบียนกับกรม ส่งเสริมการเกษตร
2. การตรวจสอบรับรองสิทธิ์เกษตรกร โดยมีคณะทำงานตรวจสอบสิทธิ์ฯ ระดับตำบล / คณะกรรมการบริหารโครงการฯ ระดับอำเภอ ตั้งแต่ 10 พ.ย. – 31 มี.ค. 58 ทั้งเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราเกษตรกรรายเดิมและเกษตรกรรายใหม่ที่ยังไม่ผ่านการ ตรวจสอบพื้นที่เปิดกรีด ส่วนกรณีเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน ขอให้กรมส่งเสริมการเกษตรรับขึ้นทะเบียน โดยให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การรับเกษตรกรเข้าร่วมโครงการชดเชยรายได้แก่ เกษตรกรทุกประการ
3. การจ่ายเงินให้แก่เกษตรกรผ่านบัญชีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) ตามผลการตรวจรับรองของคณะกรรมการบริหารโครงการฯ ระดับอำเภอ ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถจ่ายเงินเข้าบัญชีเกษตรกรได้ภายในกลางเดือนพฤศจิกายน
อย่างไร ก็ตาม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร จะเร่งประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรมาเข้าร่วมโครงการชดเชยรายได้แก่เกษตรกร ชาวสวนยาง ตลอดจนรับทราบขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการ เช่น การเตรียมเอกสาร หลักฐาน ประกอบการยื่นขอเข้าร่วมโครงการให้ครบถ้วน รวมทั้งประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ เพื่อทำความเข้าใจหลักเกณฑ์และขั้นตอนการรับเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราเข้าร่วม โครงการชดเชยรายได้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง ให้สามารถปฏิบัติงานได้ถูกต้องและเป็นไปในทิศทางเดียว
กรมส่งเสริม การเกษตรจะเปิดรับแจ้งให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการตั้งแต่ 1 พ.ย.-15 ธ.ค. 57 แต่กระแสที่ประธานสภาเกษตรกร จ.สุราษฎร์ธานี เริ่มกระแสเรียกร้องต้องการให้รัฐบาลคสช. แทรกแซงราคายางรมควันชั้น 3 ขยับขึ้นกิโลกรัมละ 60 บาทนั้นจะเป็นได้หรือไม่นั้น
คงต้องจับตากัน อย่ากระพริบเลยทีเดียว เพราะเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยยังชะลอตัวลง คาดว่ายังทำให้ราคายางพาราปรับลดลงเป็นแน่ และถึงเวลานั้นต้องดูว่าสภาเกษตรกรจะหนักแน่นเท่าไรในการออกมาเรียกร้องให้ รับาลแทรกแซงราคายาง
แต่เสียงก่อหวอดเริ่มขึ้นแล้วว่า หากราคายางพาราตกลงอีกจากราคาเป็นอยู่ เพราะเกษตรกรจะอยู่ไม่ได้แน่
และรายได้ของชาวสวนยาง ก็มาจากส่วนนี้ถือเป็นปากท้องสำคัญของครอบครัว