หน้าแรก รายงาน

เศรษฐกิจใต้ไตรมาส2 น่าห่วง “ราคายางลด-เงินเฟ้อสูง”

เร็วๆ นี้ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)สาขาภาคใต้ ชี้แจง ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ไตรมาสที่ 2 ปี 2557 น่าสนใจยิ่ง

โดยระบุว่าเศรษฐกิจทรงตัวจากไตรมาสก่อน โดยมีปัจจัยบวกจากการผลิตภาคเกษตรและอุตสาหกรรมขยายตัวดีขึ้น แม้ว่าการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การเมือง และผลกระทบจากปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนตอนล่าง รวมทั้งความไม่สะดวกในการเดินทางของนักท่องเที่ยว ด้านราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะยางพารายังคงอยู่ในระดับต่ำ ส่งผลต่อรายได้ครัวเรือนเกษตร และการส่งออกลดลง ท่าให้ภาคเอกชนระมัดระวังในการใช้จ่าย นอกจากนี้สถาบันการเงินระมัดระวังคุณภาพสินเชื่อมากขึ้น ส่วนอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น และอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นตามราคาอาหารส่าเร็จรูป และพลังงาน เป็นส่าคัญ

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ ที่น่าติดตาม ได้แก่ รายได้เกษตรลดลง 11.5% จากผลด้านราคาเป็นส่าคัญ โดยดัชนีราคาสินค้าเกษตรลดลง 12.1% ตามราคายางพาราที่ยังเผชิญกับแรงกดดันจากปัจจัยด้านอุปทานทั้งในประเทศและ ต่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง และความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ด้านดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น 1.6% จากผลผลิตปาล์มที่เพิ่มขึ้นมาก ขณะที่ผลผลิตกุ้งขาวยังไม่ฟื้นตัวจากปัญหาโรคกุ้งตายด่วน

ภาคการท่องเที่ยวยังคงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมือง ท่าให้หลายประเทศเพิ่มระดับการเตือนภัย ขณะเดียวกันในพื้นที่ชายแดนตอนล่าง ยังได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ระเบิดในพื้นที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา และมีปัญหาความไม่สะดวกในการเดินทางของนักท่องเที่ยวจากปัญหารถโดยสารจาก มาเลเซีย ส่งผลให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาภาคใต้ลดลง 5.3% หดตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนและอัตราเข้าพักอยู่ในระดับต่าที่ 54.1% อย่างไรก็ตามการท่องเที่ยวฝั่งอันดามันยังคงขยายตัวตามการเพิ่มขึ้นของนัก ท่องเที่ยวจีน รัสเซียและออสเตรเลีย เป็นส่าคัญ

มูลค่าการส่งออกลดลง 12.1% ตามการส่งออกยางที่ลดลงจากผลด้านราคา แม้จีนและสหภาพยุโรปน่าเข้าเพิ่มขึ้นตามการผลิตยางล้อในอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ ขยายตัวก็ตาม และการส่งออกไม้ยางพาราแปรรูปลดลงตามความต้องการที่ชะลอตัวของตลาดเวียดนาม และอินโดนีเซีย ส่วนการส่งออกสัตว์น้ำลดลงจากการขาดแคลนวัตถุดิบกุ้งขาว ขณะที่การส่งออกถุงมือยางเพิ่มขึ้นจากความต้องการของตลาดหลักสหรัฐอเมริกา และมีการส่งออกไปตลาดใหม่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้การส่งออกอาหารทะเลกระป๋องเพิ่มขึ้นตามค่าสั่งซื้อของผู้น่าเข้า ทั้งตลาดตะวันออกกลางและสหรัฐอเมริกา เนื่องจากทิศทางราคาวัตถุดิบทูน่ามีแนวโน้มสูงขึ้นจึงเร่งสั่งซื้อ

อย่างไรก็ตาม การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัว โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น5.3% ตามปริมาณผลปาล์มน้่ามันที่เข้าโรงงานมาก และการผลิตอาหารกระป๋องและถุงมือยางเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับการส่งออกที่ขยาย ตัว ขณะที่การผลิตยาง อาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูป และไม้ยางพารา ลดลง ดัชนีการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในระดับต่ำที่ 1.8% ใกล้เคียงกับ 1.5% ในไตรมาสก่อน ตามการใช้จ่ายในหมวดยานยนต์ที่ยังไม่ฟื้นตัวจากผลของโครงการรถยนต์คันแรกที่ ได้เร่งอุปสงค์การซื้อรถไปในช่วงก่อนหน้า ประกอบกับรายได้เกษตรกรลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน ท่าให้มีการระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น อย่างไรก็ตามเริ่มมีสัญญาณดีขึ้นในช่วงปลายไตรมาส จากสถานการณ์การเมืองที่เริ่มคลี่คลายท่าให้ความเชื่อมั่นปรับดีขึ้น

ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนลดลง 5.3% เนื่องจากผู้ประกอบการยังรอประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมือง ส่งผลให้เครื่องชี้ส่าคัญลดลง ทั้งมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุน ยอดการจดทะเบียนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล และพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลณ สิ้นมิถุนายน 2557 สินเชื่อขยายตัว 6.0 % ชะลอจากที่ขยายตัว 8.6% ในไตรมาสก่อน โดยชะลอตัวทั้งสินเชื่อที่ให้แก่ภาคธุรกิจ และอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล ส่วนเงินฝากขยายตัว2.7% ชะลอลงจากเงินฝากประจ่าที่หดตัวมากแรงกระตุ้นจากภาคการคลังลดลง โดยการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการลดลง 7.6% เป็นการลดลงของการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ ของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น เนื่องจากได้เร่งเบิกจ่ายไปในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่รายได้จากการจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นเพียง 0.4%

ด้านการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตและศุลกากร ส่าหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 3.08% เร่งตัวขึ้นจากไตรมาสก่อน ตามราคาอาหารส่าเร็จรูปที่เร่งตัวต่อเนื่องจากการส่งผ่านต้นทุนก๊าซหุงต้ม และต้นทุนราคาเครื่องประกอบอาหาร

ข้อมูลเศรษฐกิจไตรมาส2ที่ออกมาน่า ห่วงยิ่งนัก เพราะเป็นการอยู่รอดของชาวบ้านในถิ่นภาคใต้ ที่ยังไม่มีความแน่นอน ต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่ชะลอตัวลง และด้านการเมืองที่รัฐบาลคสช.จะกู้คืนได้หรือไม่ในอนาคต