หน้าแรก รายงาน

โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามเร๊าะมานียะห์ …เล็ก แต่เปี่ยมคุณภาพ นักเรียนมีความสุข บวกวิชาการ

รั้วสีสันสดใสด้วยโทนสีม่วงสบายตา มองเห็นโดดเด่น กลางธรรมชาติของบ้านป่าชิง ต.ป่าชิง อ.จะนะ จ.สงขลา คือ ที่ตั้งของโรงเรียนเร๊าะมานีย๊ะห์ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามเล็กๆ ที่มีทั้งเด็กน้อยวัยอนุบาล พี่ประถมและพี่มัธยม เรียนรู้อยู่ร่วมกัน

เร๊าะมานีย๊ะห์ เริ่มต้นด้วยการเรียนการสอนแบบปอเนาะมาตั้งแต่ปี 2534 จนปี 2549 จึงเปิดการเรียนการสอนระดับมัธยม และ ระดับอนุบาล-ประถม เมื่อปี 2554 โดยปัจจุบันนี้ยังคงสอนปอเนาะควบคู่กันไป

ด้วยความตั้งใจสานต่อปณิธานการดูแลโรงเรียนของพี่ชาย สุไรยา หนิเร่ ซึ่งเพิ่งจบปริญญาตรีในขณะนั้นจึงไปสมัครเป็นครูในโรงเรียนแห่งหนึ่งในอ.จะนะ บ้านเกิด เพื่อเก้บเกี่ยวประสบการณ์งานสอนและงานอื่นๆ ที่ต้องใช้ในการก่อตั้งโรงเรียน จากนั้นเธอได้ประสานงานทุกอย่างจนได้ใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียน และเปิดทำการเรียนการสอนมาตั้งแต่ปี 2549

เธ”เธฃ.เธชเธธเน„เธฃเธขเธฒ เธซเธ™เธดเน€เธฃเนˆ

“ตอนนั้นทำทุกอย่างด้วยตัวเอง ลุยมากเพราะต้องการทำตามฝันของพี่ชายที่จากไป จนทำสำเร็จ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมาเรื่อย จนมาลงตัวกับการได้เห็นนักเรียนมีความสุข ใช้ชีวิตแต่ละวันในโรงเรียนอย่างคุ้มค่ากับกิจกรรมและวิชาการ ครูได้บริหารจัดการเรียนการสอนด้วยตัวเอง ตามความเป็นจริง พร้อมเป็นผู้แนะนำเด็ก กระตุ้นให้เด็กได้มีพัฒนาการและความคิดสร้างสรรค์อย่างเต็มที่”

โรงเรียนแห่งนี้เน้นความสุขของเด็กเป็นสิ่งสำคัญ เด็กอนุบาลที่นี่ไม่มีโต๊ะเขียนหนังสือ ใครจะนอน จะนั่ง ได้ตามถนัด เป็นไปตามพัฒนาการและธรรมชาติที่ควรเป็น ไม่เร่งรีบ เร่งร้อน หากครูจะสังเกตพัฒนาการและช่วยปรับปรุงในแต่ละคน

เธญ.เธชเธธเธฃเธŠเธฑเธข เน„เธงเธขเธงเธฃเธฃเธ“เธˆเธดเธ•เธฃ

นายมูหัมหมัดกูไซรี เจ๊ะนะครูอนุบาล1กล่าวว่า ก่อนหน้านี้เคยเป็นทหารเกณฑ์ (ทหารหมวกแดง) มาก่อน เมื่ออยู่กับเด็กเริ่มสะสมประสบการณ์และเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา

“ประมาณ 1 ปีที่อยู่กับเด็กเล็ก เหมือนจับปูใส่กระด้งแต่เราต้องทำความรู้จักเด็กก่อน เมื่อเด็กรู้จักเราแล้วก็ค่อยๆเป็นค่อยๆไปประมาณ 1 เดือนเด็กก็เข้าที่เข้าทาง ซึ่งเด็กที่ดูแลมี18 คน มีครูพี่เลี้ยงช่วยดูด้วยอีก 1 คน คือเราต้องใช้การอบรม การขัดเกลาจิตใจของเด็กนั้นต้องใช้ความรู้ทางด้านศาสนาและสามัญควบคู่ไปด้วยกัน รวมไปถึงระบบคุณธรรมจริยธรรมระเบียบวินัย นำสิ่งเหล่านี้มาบูรณาการเข้าด้วยกัน ซึ่งทุกอย่างถือเป็นพื้นฐานของเด็กอยู่แล้ว เด็กอนุบาลแทบทุกที่นั้นเหมือนกันอยู่แล้ว อยู่ที่ครูแต่ละที่จะออกแบบการเรียนการสอนเป็น”

DSC_0106

มูหัมหมัดกูไซรี บอกว่า ครูอนุบาลต้องใจเย็นและเป็นทุกอย่าง บางครั้งถ้าเด็กดื้อเกินไปก็ต้องเป็นพ่อมดถ้าเด็กต่อยกันก็ต้องเป็นเปาบุ้นจิ้น หรือบางครั้งที่เขาเศร้ามาก็ต้องเป็นผู้ปลอบที่ดี ส่วนในเรื่องการประเมินต้องเอาเด็กเป็นที่ตั้ง แต่ทุกอย่างอยู่ที่เด็กว่าจะรับมากน้อยแค่ไหน และค่อยปรับกันต่อไป

“สิ่งที่อยากฝากไปถึงผู้ปกครองคือ บางครั้งเวลาที่เด็กขีดเขียนอะไรก็ต้องปล่อยให้เขาขีดเขียนไป เพราะสิ่งนี้ถือเป็นพัฒนาการของเขาด้วย ไม่ควรที่จะไปตำหนิว่าขีดเขียนเลอะเทอะ ถ้าผู้ปกครองทำบ่อยๆ เหมือนเป็นการตัดพัฒนาการของเด็กไปด้วย ที่สำคัญการให้เวลากับลูกๆนั้นถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด”นางสาวมาลินี ชิดโอ๊ะ ครูอนุบาล 3 กล่าวเพิ่มเติม

DSC_0034

ด้าน นางบุหงา อนันทอภิพงษ์ครูประถมศึกษาปีที่ 5 และ นางสาวหับเส้าะ หวังหมัน ครูประถมศึกษาปีที่ 6บอกถึงปัญหาการปรับตัวของเด็กที่จะเข้าสู่วัยรุ่นต้องให้คำปรึกษากับเด็กชั้นระดับนี้มากขึ้น รวมไปถึงให้คำปรึกษาว่ากล่าวตักเตือนโดยใช้คะแนนเป็นที่ตั้ง

“การให้รางวัลกับคนที่ทำแต่เรื่องดีๆ รวมไปถึงเหตุผลที่ใช้ด้วยเด็กที่กำลังจะเข้าสู่วัยรุ่นนั้นจะอยู่กันเป็นกลุ่มเป็นแก๊งค์ คือกลุ่มไหนที่เรียบร้อยก็เรียบร้อย กลุ่มไหนที่นักเลงก็นักเลง เป็นไปตามประสาเด็กวัยนี้ เวลาครูขู่ก็จะเชื่อฟังซึ่งต่างจากเด็กมัธยม การจะรับมือกับเด็กที่กำลังจะเข้าสู่วัยรุ่นนั้นต้องทำความเข้าใจกับเด็กกลุ่มนี้เสียก่อนว่าเด็กมีความสนใจอะไร ต้องการอะไร อารมณ์ของเขาในช่วงวัยนี้ต้องการอะไรมากที่สุด ซึ่งอารมณ์และความต้องการของเด็กป.6 คือการให้ความสำคัญกับตัวเอง รวมไปถึงคนรอบข้าง วันไหนที่เขามีปัญหากับเพื่อนๆวันนั้นเขาก็ไม่อยากมาโรงเรียน บุคคลที่มีความสำคัญกับเขาในช่วงเวลานี้คือเพื่อน เมื่อรู้ปัญหานี้ก็สามารถแก้ไขปัญหาได้ ที่สำคัญต้องทลายกำแพงระหว่างครูกับเด็กให้ได้ก่อน ต้องสร้างความสนิทและความไว้เนื้อเชื่อใจกับเด็กให้ได้ก่อน เด็กจะเล่าปัญหาของเขา เราต้องเป็นได้ให้หมดคือ เป็นครู เป็นเพื่อน และรวมไปถึงเป็นพ่อและแม่ของเขา ซึ่งถ้าเป็นได้ทุกอย่างเวลาเขามีปัญหาอะไรเขาก็จะมาปรึกษาเรา”

DSC_0145

เร๊าะมานีย๊ะห์เริ่มกิจกรรมฝึกวิชาชีพในปีการศึกษานี้ทุกวันศุกร์โดยเป็นการฝึกรวมระหว่างชั้นประถม 1 – 6 โดยใช้รุ่นพี่เป็นหลัก แบ่งเป็น 4 กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มจะมีครู 2 คน แบ่งคละกันระหว่าง ป. 1 – 6 โดยจะให้รุ่นพี่ดูแลน้องๆ กิจกรรมส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมที่นำไปใช้ได้จริงคือการฝึกปฐมพยาบาล ฝึกทำอาหาร มีหลักการประเมินคือ การทำงานเป็นทีม การเข้าสังคมเป็นกลุ่มรสชาติของอาหาร การจัดจาน ประเมินทุกอย่าง ซึ่งผลประเมินออกมาถือว่าเป็นสิ่งที่น่าพึงพอใจ ซึ่งคิดว่าคงทำต่อไป เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างรุ่นพี่กับรุ่นน้องได้เป็นอย่างดี เพราะปกติรุ่นพี่กับรุ่นน้องมีโอกาสพบเจอกันเฉพาะเวลาละหมาดเท่านั้นซึ่งเป็นกิจกรรมที่ครูคิดว่าจะทำต่อไป

ผู้อำนวยการโรงเรียน กล่าวถึงกิจกรรมนี้ว่าเป็นกิจกรรมที่โดดเด่นของโรงเรียน เมื่อทำไปแล้วปรากฏว่าสิ่งที่เกิดขึ้นได้ผลดีมากกว่าที่คาดไว้

“เมื่อสมัยตัวเรานั้นมีเรียน กพอ. สปช. สลน, ซึ่งวิชาเหล่านี้เป็นตัวตกผลึกให้กับเด็กสามารถจำมาถึงปัจจุบัน แต่ในปัจจุบันรายวิชาเหล่านี้ได้หายไป กิจกรรมฝึกทักษะแบบนี้จะกลายเป็นความรู้ที่จะติดตัวไปกับเด็กตลอด ซึ่งไม่ว่าเขาจะจบระดับใด สามารถนำไปใช้ได้ตลอด”

นายสุรชัย(ฟูอ๊าด) ไวยวรรณจิตรที่ปรึกษาของโรงเรียนกล่าวว่าไม่แน่ใจว่าระบบการศึกษาไทยที่เปลี่ยนตลอดจะใช้ได้หรือไม่จึงเอาหลักสูตรเก่ามาลอง เพราะเด็กในอดีตสามารถอ่านออกเขียนได้แต่เมื่อยัดหลักสูตรให้เด็กเยอะ เด็กก็ไม่เข้าใจ และไม่รู้ว่าเป้าหมายจริงๆที่ต้องการจากเด็กนั้นคืออะไร

“คิดว่าจะทำอย่างไรให้โรงเรียนของเรามีกิจกรรมให้เยอะที่สุด จึงเกิดกิจกรรมนี้ขึ้นมา ครูอาจสงสัยว่าทำไมเราถึงเปลี่ยนระบบ ปกติต้องสอนไปตามคาบ8 คาบ แต่เดิมเรานำเด็กออกไปละหมาดกับชุมชนในวันพุธ แต่พอมี ป.6 เป็นปีแรก ก็นำออกไปวันศุกร์แทน เมื่อประเมินแล้วเด็กมีความสุขก็เลยทำมาตลอด ซึ่งจริงๆแล้วกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลาการเรียนรู้ของรัฐที่มีการทำอยู่ในขณะนี้ ผมกล้าพูดเลยว่าจริงๆ เรามีการทำมาก่อนที่รัฐจะคิดนโยบายนี้ออกมา เพราะว่าอยากเห็นเด็กมีความสุข เด็กไม่เครียด ถ้าเราไปยึดตามแผนรับรองว่าครูเครียดแน่นอน สุดท้ายสิ่งที่ตามมาคือส่งผลกับเด็ก เด็กไปไม่ถึงไหนอยู่ดี เหมือนเป็นการทดลองว่าเด็กทำแบบนี้แล้วมีความสุขเราจะทำ”

“เมื่อเด็กมีความสุข วิชาการก็จะตามมา ซึ่งเห็นผลคือเมื่อปีที่แล้วเริ่มส่งเด็กออกไปแข่งข้างนอกแล้วได้รางวัลกลับมา มองว่าเมื่อเด็กมีความสุข ครูมีความสุข จะส่งผลต่อเนื่องกันแน่นอน สุดท้ายจะไปส่งผลต่อเนื่องเรื่องวิชาการ แต่ถ้าเด็กเครียด ครูเครียดขึ้นมา จะส่งผลที่เด็กแน่นอน และจะไม่ได้วิชาการขึ้นมาด้วย ถือเป็นความท้าทายของเราด้วยเหมือนกัน ซึ่งปีนี้เราจะมีเด็กจบ ป.6 เป็นปีแรกที่จะสอบ o-net ถ้ากิจกรรมที่ทำมาทั้งหมดทำให้เด็กมีความสุขแล้วผลสอบ o-net ออกมาจะฟ้องทันทีว่าท้ายที่สุดกับสิ่งที่เราทำมานั้นมันใช่หรือเปล่า เพราะฉะนั้นความสุขและวิชาการควรไปด้วยกันและจะแยกจากกันไม่ได้”

DSC_0151

แม้ระยะเวลาเพียง 10 ปี ของการเปิดการเรียนการสอนแบบสามัญ เร๊าะมานีย๊ะห์ได้รับรางวัลที่ทุกคนภาคภูมิใจหลายรางวัลคือ รางวัลนักเรียนพระราชทาน ปี 2552 รางวัลโรงเรียนพระราชทาน ปี 2553 รางวัลผู้บริหารพระราชทาน ปี2554 รางวัลนักเรียนพระราชทานและรางวัลโรงเรียนพระราชทาน ปี2557

ผอ.เร๊าะมานีย๊ะห์ห์ฝากทิ้งท้ายไว้ว่า “เราไม่ทำโรงเรียนใหญ่ ขอเป็นโรงเรียนทางเลือก ตั้งเป้าที่คุณภาพมากกว่า เมื่อเด็กมีความสุข ครูสุขใจ คือสิ่งสำคัญ”

ความสุขของเด็กคือสิ่งสำคัญ ที่ทุกโรงเรียนควรคำนึง

เมื่อเด็กมีความสุข ทุกอย่างก็จะตามมา…