หน้าแรก รายงาน

โรฮิงยา ประชาชนที่ถูกลืมในพม่า

พม่าเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติมากที่สุดประเทศหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากมีประชาชนที่เป็นคนเชื้อชาติพม่า กะเหรี่ยง มอญ คะฉิ่น อารากัน ฯลฯ แต่กลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้รับการพูดถึงมากมายในเวทีวิชาการพม่าจนถึงในขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตย คือ กลุ่มชาติพันธุ์ที่เรียกว่า “โรฮิงยา” (Rohingyas)

ชาวโรฮิงยาส์เป็นประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลาม อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของรัฐอารากัน (ยะไข่) ในตอนเหนือของประเทศพม่า ติดกับชายแดนประเทศบังกลาเทศ ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเมือง Maungdaw, Buthidaung, Rathedaung,

Akyab และ Kyauktaw ชาว โรฮิงยาส์มีภาษาเป็นของตัวเอง คือ ภาษาอินดิค (Indic language) ที่มีความคล้ายกับภาษาเบงกาลีที่ใช้พูดในประเทศบังกลาเทศและอินเดีย ประชากรของชาวโรฮิงยาส์มีประมาณ 7 แสนถึง 1.5 ล้านคนในรัฐอารากันที่มีประชากรมากถึง 3 ล้านคน

ประวัติศาสตร์ของชาวโรฮิงยายังมีความหลากหลายมากในปัจจุบัน มีรายงานและงานวิจัยหลายส่วนที่ให้ข้อมูลไว้ว่าเป็นผู้คนที่อยู่ในตอนเหนือรัฐอารากันมาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 7-12 และ นับถือศาสนาอิสลามเนื่องจากพื้นที่ทางตอนเหนือของรัฐอารากันมีพ่อค้าชาวอาหรับเข้ามาค้าขายเป็นเวลายาวนาน แต่ในมุมมองของรัฐบาลเผด็จการทหารพม่า ชาวโรฮิงยาส์เป็นประชาชนที่ “ลี้ภัยอย่างผิดกฎหมาย” และอพยพมาจากประเทศบังกลาเทศในสมัยที่พม่าตกอยู่ภายใต้อาณา นิคมของจักรวรรดินิยมอังกฤษ ดังนั้น ด้วยทัศนคติเช่นนี้ของรัฐบาลทำให้ประชาชนชาวโรฮิงยาไม่ได้รับการรวมเข้าไปในกลุ่มชนพื้นเมือง (Indigenous groups) ในรัฐธรรมนูญพม่า ส่งผลให้ไม่ได้รับสัญชาติพม่า

การที่ชาวโรฮิงยาไม่ได้รับสัญชาติทำให้ไม่ได้รับการคุ้มครองใดๆ จาก

รัฐบาล ทั้งยังถูกคุกคามอย่างต่อเนื่องมากกว่าชนกลุ่มน้อย หรือประชาชนเชื้อชาติอื่นๆ โดยเฉพาะจากความแตกต่างทางศาสนาและเชื้อชาติ ถูกเลือกปฏิบัติในทุกระดับ ซึ่ง รวมถึงสิทธิที่จะนับถือศาสนา การเข้าถึงการศึกษา สิทธิในการรักษาโรค จนถึงไม่สามารถแต่งงานได้ ถูกบังคับให้ทำงานโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน และไม่สามารถเดินทางเพื่อไปประกอบอาชีพนอกพื้นที่ได้ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีสภาพความเป็นอยู่ที่ยากจนมาก เป็นชนกลุ่มน้อยที่มีสถานการณ์ความเป็นอยู่ที่เลวร้ายที่สุดในพม่า

นอกจากนี้ ชุมชนชาวโรฮิงยายังต้องผจญกับการปราบปรามอย่างต่อ

เนื่อง โดยมีเหตุการณ์สำคัญในปีค.ศ.1962 ค.ศ.1978 และ ค.ศ.1991 ทำให้มีผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงยาส์หลบหนีภัยเข้าไปในบังกลาเทศ ปากีสถาน ซาอุดีอาระเบีย เป็นหลัก โดยที่ประเทศรองลงมาคือ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มาเลเซีย และประเทศไทย ซึ่งจำนวนประชากรชาว โรฮิงยาในไทยไม่ได้มีจำนวนมากเท่าในบังกลาเทศหรือในมาเลเซีย มีจำนวนประมาณ 10,000-15,000 คน ส่วนใหญ่อยู่ที่จังหวัดระนองและมหาชัย

ในเดือนมกราคม ปี ค.ศ. 2009 สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นรายงานว่ามีผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงยาจำนวน 1,000 คนอพยพมาจากประเทศพม่า ได้ถูกทหารพม่าจับกุมพร้อมทั้งถูกทารุณกรรม จากนั้นถูกจับโยนลงทะเลโดยไม่มีเรือมารับ และขาดแคลนทั้งน้ำและอาหาร

จากสภาพที่แร้นแค้น ไร้อนาคตจนถึงขีดสุด ทำให้คนเหล่านี้ตัดสินใจที่จะหาความหวังของชีวิต ละทิ้งแผ่นดินเกิดอพยพหนีไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ท่ามกลางการตามล่าของทหารพม่า ซึ่งหากพวกเขาถูกจับได้ก็จะถูกทำการทรมานอย่างหนักจนอาจถึงแก่ชีวิต จนถึงตอนนี้ มีชาวโรฮิงญา

จำนวนมากที่ขึ้นเรืออพยพเข้ามายังประเทศไทย โดยเฉพาะทางฝั่งจังหวัดสตูล และระนอง เพื่อจะข้ามไปยังประเทศที่ 3

แต่เป็นที่น่าเศร้าใจ หลังจากที่พวกเขาหนีการจับกุมและการทรมานของเหล่าทหารพม่ามาได้ แต่กลับต้องตกเป็นเหยื่อของแก๊งค้ามนุษย์ซ้ำอีก จนถึงขณะนี้ แม้ว่าพวกชาวโรฮิงญาผู้อพยพมาจะถูกกักขังอยู่ แต่สำหรับพวกเขาแล้ว ห้องคุมขังก็ไม่ต่างจากโรงแรมชั้น 1 ซึ่งพวกเขาจะได้มีอาหารครบ 3 มื้อ และได้รับน้ำใจจากประชาชนชาวไทย พวกเขาล้วนคิดว่าคนไทยนั้นช่างโชคดี ที่ได้เกิดบนผืนแผ่นดินที่เต็มไปด้วยความสุขนี้ ซึ่งต่างจากแผ่นดินที่เปี่ยมไปด้วยความทุกข์ของพวกเขา

นี่คือชีวิตบางส่วนของ ชาวโรฮิงญา ที่วันนี้ของพวกเขาล้วนเผชิญกับโชคชะตาที่มากกว่าคำว่า..โหดร้าย

ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

http://www.thaingo.org/writer/view.php?id=334

http://hilight.kapook.com/view/33433