หน้าแรก รายงาน

นักประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเผย นักสำรวจโลกคนแรกคือคนมลายู

นักประวัติศาสตร์ ดร. จอยซ์ แชปลิน (Dr. Joyce Chaplin) ได้เปิดเผยว่า ความจริงแล้วคนที่เดินทางรอบโลกเป็นคนแรกอาจเป็นชาวมุสลิมเชื้อสายมลายูที่ชื่อ เอ็นริเก เดอ มะละกา (Enrique de Malacca) หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า ท่านแม่ทัพ อาวัง (Panglima Awang )

นักประวัติศาสตร์และศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ดร. จอยซ์ แชปลิน

ความปรารถนาและความพยายามของมนุษย์ที่จะพิชิตผืนแผ่นดินมีมิเคยหยุด นับตั้งแต่เจ้าชายแห่งโมร็อกโก อิบนู บัตตูตา (Ibnu Battuta) รวมถึงนายพลเรือเอกลักษมานา เซงฮี (Laksamana Zenghe) ของจีนในศตวรรษที่ 14 โดยการสำรวจแผ่นดินโปรตุเกสของเฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน (Ferdinand Magellan) ในศตวรรษที่ 16 จนกระทั่งถึง เลาร่า เดกเกอร์ (Laura Dekker) ซึ่งเป็นหญิงสาวชาวเลแห่งดัตช์ ในศตวรรษที่ 21 ซึ่ง ดร. จอยซ์ แชปลิน ได้อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการอพยพเดินทางของมนุษย์ในเรื่องนี้

ในนวนิยายที่เขียนโดยชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งชื่อจูลีส์ กาเบรียล (Gabriel Verne) ในเรื่อง “การเดินทางรอบโลกในเวลา 80 วัน” ที่ตีพิมพ์ในปี 1873 ที่ทำให้ดร. จอยซ์ แชปลิน ได้รับแรงบันดาลใจในการเขียนหนังสือของเขาที่ชื่อว่า “การเดินทางรอบโลก (Round About the Earth)

ดร. แชปลิน ได้กล่าวว่า เป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ใจยิ่งที่ว่านวนิยายของจูลีส์ กาเบรียล ดังกล่าว ได้รับการแปลในหลายๆ ภาษาด้วยกัน แม้กระทั่งในช่วงที่เขายังมีชีวิตอยู่ก็ตาม เช่น ภาษาอาหรับ และภาษาเปอร์เซีย ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นวรรณกรรมชิ้นเอกของโลก

ในช่วง 250 ปีแรกนั้น ความพยายามของมนุษย์ที่จะเดินทางสำรวจรอบโลกเกือบ 90 เปอร์เซ็นต์ทั้งหมดไม่ประสบความสำเร็จ ดร. แชปลินกล่าว เพราะโดยส่วนใหญ่นักสำรวจบางคนต้องเสียชีวิตลงในระหว่างการเดินทาง ซึ่งยังมีผืนดินอีกมากมายมหาศาลที่เอื้อต่อการพิชิตยึดครอง ที่ต้องพบกับความท้าทายหลายๆ อย่างด้วยกัน ทั้งโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งมีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่มีโอกาสได้เดินทางกลับไปยังแผ่นดินเกิดของตน

“จริงแล้วคนที่เดินทางรอบโลกเป็นคนแรกอาจจะเป็นชาวมุสลิมที่เป็นชาวมลายูที่ชื่อ เอ็นริเก เดอ มะละกา ซึ่งเป็นเด็กของเฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ที่ได้มาในช่วงการทำสงครามที่มะละกา ซึ่งถูกนำกลับไปยังเมืองสเปน เพื่อหวังว่าจะคอยทำหน้าที่เป็นล่ามและเป็นผู้นำทางในช่วงการเดินทางไปในเมืองต่างๆ ในเอเชีย” ดร.แชปลิน กล่าว

ปกหนังสือที่เขียนโดยดร จอยซ์ อี แชปลิน การเดินทางรอบโลก (Round About the Earth)
ปกหนังสือที่เขียนโดยดร จอยซ์ อี แชปลิน การเดินทางรอบโลก (Round About the Earth)

เอ็นริเก เดอ มะละกา ซึ่งเป็นชื่อที่เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน เป็นผู้ตั้งให้ หรือที่เป็นที่รู้จักในภูมิภาคนูซันตารา ก็คือท่านแม่ทัพ อาวัง ที่กล่าวกันว่ามาจากเกาะสุมาตราหรือมะละกา เอ็นริเก มักจะร่วมเดินทางพร้อมกับเจลลันไปทุกสถานที่ในการเดินทางไปรอบโลก รวมถึงการเดินเรือเมื่อปี 1519 จนถึง 1521 ซึ่งในช่วงที่ได้รับการถวายงานจากกษัตริย์ของสเปนในการค้นหาเครื่องเทศต่างๆ

แมกเกเลน (Magellan) ได้ออกเดินทางจากสเปนพร้อมกับขบวนเรือจำนวนห้าลำ และลูกเรือ (กะลาสี ) 270 คน แต่มีเพียงหนึ่งลำเรือเท่านั้นและลูกเรือ 35 คน ที่สามารถกลับไปยังสเปนได้อย่างปลอดภัย ซึ่งแมกเกเลนเองถูกฆ่าตายในฟิลิปปินส์ ในขณะที่เอ็นริเก เดอ มะละกา สามารถเดินทางไปถึงเมืองมะละกาได้อย่างปลอดภัยพร้อมแผ่นที่เดินเรือของเขา

ซึ่งการเดินทางรอบโลกในเวลาต่อมาเริ่มมีความสะดวกมากขึ้น ดร.แชปลินกล่าว “ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 การเดินทางสำรวจรอบโลกมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น ด้วยการอาศัยเรือกลไฟผ่านทางคลองสุเอซ และด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่สามารถช่วยได้ ซึ่งทำให้การเดินทางไปมาของผู้คนมีความรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งด้วยความรู้ในวิทยาการใหม่ๆ ที่ว่า คนธรรมดาก็สามารถกระทำได้”

การเดินทางเพื่อสำรวจดินแดนรอบโลกในช่วงดังกล่าวเริ่มมีความปลอดภัยมากขึ้น ดร. แชปลิน ได้อธิบาย เนื่องด้วยประเทศจักรวรรดินิยมแห่งตะวันตก เช่น สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส โปรตุเกสและสเปน ได้สร้างอาณานิคมของตนเองในดินแดนต่างๆ ทั่วโลก เพื่อเป็นการเตรียมการในการอำนวยความสะดวก

ดร. แชปลินยังได้อธิบายเพิ่มเติมว่า “ปัจจุบันนี้ยุคของการกดขี่ไม่ได้มีอีกแล้ว แต่เรายังอยู่ในยุคของการล่าอาณานิคม ที่หมายถึงส่วนใหญ่ของโลกได้ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของบรรดาจักรวรรดินิยมทั้งสิ้น ซึ่งตอนนี้คงไม่มีอีกแล้ว และกลายเป็นสิ่งที่อันตรายสำหรับชาติตะวันตกที่จะเดินทางสำรวจพิชิตเหมือนในอดีต แต่ ไม่ได้หมายความว่าสถานการณ์ดีขึ้นหรือแย่ลง เพียงแต่ว่าได้มีความแตกต่างในรูปแบบเล็กน้อย”

แต่ในวันนี้ การเดินทางรอบโลกได้ครอบคลุมไปถึงจักรวาล ซึ่งมีผู้คนมากมายหลายเชื้อชาติทั้งชายและหญิงที่มีโอกาสเดินทาง” ซึ่งเคยมีนักบินอวกาศที่เป็นชาวมุสลิมจากประเทศมาเลเซีย ที่ได้เดินทางโคจรในอวกาศ ในช่วงเดือนรอมฎอน และมีสภาอูลามาอฺ(ปราชญ์)ร่วมกับทีมนักวิทยาศาสตร์ ที่ได้ให้คำปรึกษาแนวทางในการกำหนดทิศทาง(กิบลัต) และช่วงเวลาในการถือศีลอดได้อย่างถูกต้อง

เก้านักบินอวกาศมุสลิมได้โคจรในอวกาศ ซึ่งล่าสุดเป็น ดร ชีค มุสซาฟาร์ ชูโกร์ ที่ได้เดินทางกับยานอวกาศ Soyuz TMA-11 ไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ ที่เป็นการร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลมาเลเซียและรัสเซีย
ดร ชีค มุสซาฟาร์ ชูโกร์ ชีค ได้เดินทางถึงสถานีอวกาศนานาชาติเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2007 และเดินทางกลับถึงผืนโลก 11 วันต่อมา เขาได้เฉลิมฉลองตรุษอิดิลฟิตรีย์ที่สถานีอวกาศเมื่อวันที่ 13 ตุลาคมด้วยเมนูอาหารสะเต๊ะและขนม พร้อมด้วยนักบินอีกสองคนเพื่อนร่วมงานจากรัสเซียและอเมริกา

ดร. จอยซ์ อี แชปลิน ผู้เขียนหนังสือ “การเดินทางรอบโลก” ที่ตีพิมพ์เมื่อปีที่แล้วโดยสำนักพิมพ์ Simon & Schuster ซึ่งเป็นอาจารย์ในภาควิชาประวัติศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซต
เขาได้มีโอกาสสอนหนังสือในห้ามหาวิทยาลัยในสองทวีป และบนเกาะแห่งหนึ่ง เช่นเดียวกับโครงการศึกษาวิจัยการเดินเรือในมหาสมุทรแอตแลนติก

ที่มา http://www.voaindonesia.com/content/sejarawan-harvard-penjelajah-bumi-pertama-putera-melayu/1711514.html