คงจะน้อยนักที่จะมีเด็กบางชนเผ่าที่มีอยู่ในประเทศไทย ที่สามารถมองเห็นใต้ท้องทะเลด้วยตาเปล่าได้อย่างชัดเจน ทำไมเรื่องนี้ถึงเกิดขึ้นได้? และทักษะของพวกเขาสามารถที่จะเรียนรู้ได้หรือไม่?
ที่เกาะแห่งหนึ่งที่อยู่ไกลออกไปในท้องทะเลอันดามัน ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของชนเผ่าเร่ร่อนชาวมอแกน ที่ได้อาศัยอยู่อย่างกระจัดกระจาย ตามแนวชายฝั่งตะวันตกของประเทศไทย
เด็กๆ ของชนเผ่าแห่งนี้จะใช้เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับการว่ายน้ำในทะเล ในการหาอาหาร ซึ่งกิจวัตรดังกล่าวดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องที่มีความถนัดยิ่งนักสำหรับพวกเขา ทำไมหรือ? ก็เพราะว่าเด็กๆ ชาวมอแกนสามารถมองเห็นได้ในน้ำทะเลด้วยตาเปล่านั่นเอง
จากการศึกษาวิจัยในปัจจุบันพบว่า ความสามารถพิเศษเฉพาะดังกล่าวจะมีอยู่แต่เพียงในกลุ่มเด็กๆ เท่านั้น ถึงกระนั้นก็ด้วยผ่านการฝึกทักษะอย่างสม่ำเสมอ

เรื่องนี้เป็นการยืนยันจากแอนนา กิสเลน อาจารย์จากมหาวิทยาลัยลุนด์ ประเทศสวีเดน
เมื่อปี 1999 กิสเลน ได้ตัดสินใจทำการศึกษาถึงการมองเห็นของมนุษย์ในรูปแบบต่างๆ หลังจากที่เพื่อนร่วมงานของเขาได้เสนอ ซึ่งเขามีความสนใจในการมองเห็นที่มีลักษณะเป็นการเฉพาะของชนเผ่ามอแกนดังกล่าว
“ในเวลานั้นเราใช้เวลากว่าสามเดือนในการทำงานในสำนักงาน จากนั้นเราจึงได้ตัดสินใจเดินทางไปยังทวีปเอเชีย” กิเลนกล่าว
“ด้วยดวงตาที่เปิดกว้าง เพียงไม่นานนักพวกเขาสามารถที่จะเก็บหอย แมลงภู่ และปลิงทะเลได้เป็นจำนวนมากได้อย่างง่ายดาย”
กิสเลนพร้อมลูกสาวได้บินมายังเมืองไทย และเขาได้อาศัยอยู่กับชาวมอแกนที่นั่น ซึ่งส่วนใหญ่พวกเขาจะอาศัยอยู่ในบ้านยกสูงที่ปลูกในท้องทะเล
เมื่อคลื่นซัดกระหน่ำชายฝั่ง พวกเด็กๆ เผ่ามอแกนต่างกระโดดลงไปในทะเล ดำลงไปก่อนที่จะโผล่ขึ้นมาพร้อมกับเอาอาหารติดมือ
“ด้วยดวงตาที่เปิดกว้างเพียงไม่นานพวกเขาสามารถเก็บหอย แมลงภู่ และปลิงทะเล” กิสเลนกล่าว
มองเห็นได้อย่างชัดเจนสองเท่า
ด้วยความอยากรู้ กิสเลนได้เตรียมเครื่องมือในการทดสอบเพื่อวัดค่าวิสัยการมองเห็นของเด็กๆ ชาวมอแกนว่าสามารถมองเห็นใต้ท้องทะเลได้ชัดมากน้อยแค่ไหน
ซึ่งเป็นความโชคดียิ่งนัก ที่พวกเขาเองมีความกระตือรือร้นตื่นเต้นที่จะมีส่วนร่วมกิสเลนกล่าว “พวกเขาคิดว่านี่อาจเป็นเกมส์ที่มีความสนุกสนานอย่างหนึ่ง”

ในการทดสอบดังกล่าว เด็กๆ ได้ดำน้ำและเอาศีรษะของพวกเขาเข้าไปในกระดานที่ได้จัดเตรียมไว้แล้ว ซึ่งที่กระดานดังกล่าวมีการติดนามบัตรที่มีเส้นแนวตั้งหรือแนวนอนไว้ เมื่อใดก็ตามที่พวกเขาได้เห็นบัตรที่อยู่ในน้ำ พวกเขาจะต้องขึ้นมายังผิวน้ำเพื่อบอกในสิ่งที่พวกเขาได้มองเห็น
ซึ่งจะปฏิบัติในลักษณะนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพื่อเพิ่มระดับความยากง่าย ซึ่งยิ่งนับครั้งเส้นบนนามบัตรจะยิ่งมีขนาดเล็กลงตามลำดับ
ในการทดลองในครั้งนี้ กิสเลนพบว่า ในน้ำทะเลเด็กๆ ชาวมอแกนสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนมากขึ้นกว่าสองเท่าเมื่อเทียบกับเด็กๆ ในยุโรปโดยทั่วไป ที่ได้ผ่านการทดสอบในลักษณะที่คล้ายๆ กัน
ฉะนั้นอะไรหรือสิ่งที่เกิดขึ้นกับวิสัยการมองเห็นของพวกเขา?

เพื่อให้สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเมื่อขึ้นบนผิวน้ำ จำเป็นที่จะต้องทำการเบี่ยงแสงที่ส่องเข้ามายังเลนส์รับแสงอยู่ที่ด้านหลังของดวงตาที่มีเซลล์อยู่ ที่จะทำหน้าที่แปลงแสงขึ้นไปยังสมอง ซึ่งจะแปรสัญญาณเหล่านี้ออกมาเป็นภาพ
เมื่อแสงเข้าสู่ดวงตา แสงจะทำการหักเห อันเนื่องมาจากการที่ด้านนอกของกระจกตาเต็มไปด้วยน้ำ ซึ่งจะทำให้มีความหนาแน่นมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับที่มีอากาศอยู่รอบๆ ดวงตา
เมื่อดวงตาอยู่ในน้ำซึ่งมีความหนาแน่นคล้ายกับกระจกตา ทำให้ดวงตาจะสูญเสียความหักหักของแสงสะท้อน ทำให้วัตถุที่มองเห็นในน้ำค่อนข้างจะมีความพร่ามัว
กิสเลนให้สมมติฐานว่า การที่เด็กๆ ชาวมอแกนสามารถเห็นใต้น้ำได้อย่างชัดเจน ก็เพราะเกิดจากการวิวัฒนาการอย่างรุนแรง (ชนิดของวิวัฒนาการขนาดเล็ก) ที่ได้เปลี่ยนแปลงวิสัยการมองเห็นของสายตาพวกเขา หรืออาจเป็นเพราะพวกเขาได้เรียนรู้ทักษะในการใช้สายตาในน้ำกันไปเอง
ตามสมมติฐานของกิสเลนในเบื้องต้นแทบจะเป็นไปไม่ได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานดังกล่าว อาจทำให้เด็กๆ เหล่านี้ไม่สามารถที่จะมองเห็นบนผิวน้ำได้ ทั้งๆ ที่ในการทดสอบดังกล่าวแบบปานกลาง จะเห็นได้ว่า เด็กๆ ชาวมอแกนสามารถมองเห็นบนผิวน้ำเทียบเท่ากับเด็กๆ ในยุโรป
ในที่สุดกิสเลนจึงเชื่อเหลือเกินว่า การที่เด็กๆ ชาวมอแกนสามารถมองเห็นใต้น้ำได้อย่างชัดเจนเกิดจากการฝึกทักษะการปรับตัวของดวงตาพวกเขาเอง
เปรียบเสมือนแมวน้ำและปลาโลมา
ในทางทฤษฎีจะมีสองอย่างเท่านั้นที่จะทำให้การมองเห็นในน้ำสามารถมองเห็นได้อย่างคมชัดคือ ข้อแรก ด้วยการเพิ่มความหนาของเลนส์สายตา หรือข้อสองด้วยการหรี่ดวงตาเพื่อให้สามารถมองเห็นได้ลึกขึ้น
การวัดขนาดการมองเห็นของเด็ก ๆ เหล่านี้เป็นเรื่องที่ง่ายมากที่จะทดสอบ กิสเลนเปิดเผยตามที่เขาได้ทำการศึกษาวิจัยมา ซึ่งสามารถทำให้ดวงตามีความเล็กลงจนถึงขีดสุดที่เคยบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์
อย่างไรก็ตาม ยังไม่เพียงแค่นี้ กิสเลนยังเชื่อว่ายังมีพลังความสามารถของดวงตาของเด็กๆ ชาวมอแกนที่มีมากกว่านี้

“เราต้องทำการบ้านทบทวนในเชิงคณิตศาสตร์ เพื่อให้รู้ว่าเด็กๆ ชาวมอแกนที่สามารถมองเห็นใต้น้ำได้อย่างชัดเจนมีจำนวนเท่าใด”
แต่ที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือ ดวงตาของเด็กๆ เหล่านี้ มีพลังงานบางอย่างที่เหนือคนทั่วไป
การปรับสภาพของดวงตาของเด็กๆ ชาวมอแกน คล้ายๆ กับสิ่งที่เกิดขึ้นกับแมวน้ำและปลาโลมา
“ปกติแล้วเมื่อเราว่ายน้ำ วิสัยทัศน์ของเราจะมีความพร่าเลือน จนไม่สามารถที่จะปรับตัวได้ ทั้งๆ ที่ความสามารถในการปรับตัวของแสงเป็นหน้าที่การสะท้อนปฏิกิริยาของดวงตา”กิสเลนกล่าว
จากการวิจัยของเขาพบว่า “เด็กๆ ชาวมอแกนสามารถทำทั้งสองอย่างได้ พวกเขาสามารถทำให้ดวงตาของเขามีขนาดเล็กมาก พร้อมๆ กับการเปลี่ยนความหนาของเลนส์สายตาขณะที่อยู่ในน้ำได้ ซึ่งแมวน้ำและปลาโลมาก็มีลักษณะปรับตัวที่คล้ายๆ กัน”
ในการทดสอบในสิ่งเดียวกันกับผู้ใหญ่ชาวมอแกน พบว่าความสามารถพิเศษที่พบเห็นในกลุ่มเด็กๆ กลับไม่มี นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมผู้ใหญ่ของชาวมอแกนส่วนใหญ่จะจับปลาบนผิวน้ำเท่านั้น

“ขณะที่เราอายุมากขึ้นความสามารถของการขยายเลนส์สายตามีน้อยลง ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่มีเหตุผลทีว่าเมื่อเป็นผู้ใหญ่แล้วจะสูญเสียความสามารถในการมองเห็นในน้ำได้อย่างชัดเจน” กิสเลนอธิบาย
นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้สอบถามเด็กๆ ชาวมอแกนว่า การที่สามารถมองเห็นในน้ำได้เป็นความสามารถโดยพันธุกรรมหรือ เป็นเพราะธรรมชาติของพวกเขา
เพื่อหาคำตอบในการทดสอบดังกล่าว กิสเลนได้ทำการตรวจสอบใหม่อีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้ได้ทดสอบกับกลุ่มเด็กๆ ที่อยู่ในยุโรปที่กำลังเที่ยวพักผ่อนในประเทศไทยและกลุ่มเด็กๆ ในประเทศสวีเดน
ในการฝึกทดสอบในครั้งนี้ พวกเขาถูกใช้ให้กระโดดลงไปในน้ำและให้มองไปยังลายเส้นที่อยู่บนนามบัตรเช่นเดียวกับที่ได้ทดสอบกับเด็กชาวมอแกน
หลังจากผ่านการทดสอบไปจำนวน 11 ครั้งภายในเวลาหนึ่งเดือน ซึ่งปรากฏว่าทั้งสองกลุ่มมีการมองเห็นใต้น้ำที่เท่ากันกับเด็กๆ ชาวมอแกนเช่นกัน
“สถานการณ์ที่มีความแตกต่างกันของเด็กๆ แต่ที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือทักษะความสามารถในการมองเห็นของพวกเขามีการพัฒนาที่ดีขึ้น” กิสเลนกล่าว “ผมได้สอบถามพวกเขาว่า พวกเขามีเคล็ดลับอะไรหรือเปล่า และพวกเขาตอบว่า “ไม่” ซึ่งพวกเขาสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนมากขึ้น”

ถึงกระนั้นจะมีสิ่งหนึ่งที่แตกต่างกัน เพราะถึงแม้ว่าจะมีความสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนเท่ากัน แต่ดวงตาของเด็กๆ จากยุโรปจะออกอาการตาแดงเนื่องจากการระคายเคืองจากความเค็มในทุกๆ ครั้งที่มีการทดสอบ
“ในขณะที่ดวงตาของเด็กๆ ชาวมอแกนไม่ได้มีอาการแดงแต่อย่างใด ซึ่งอาจเกิดจากการที่มีการปรับตัวอะไรบางอย่าง ที่ทำให้พวกเขาสามารถที่จะดำน้ำในทะเลได้นานถึง 30 นาทีโดยไม่มีการระคายเคืองของดวงตาแต่อย่างใด” กิสเลนกล่าว
เมื่อวันเวลาผ่านไป กิสเลนได้เดินทางกลับมายังประเทศไทยอีกครั้ง ซึ่งทุกอย่างได้เปลี่ยนแปลงจากเดิมไปแล้ว
ภัยพิบัติสึนามิเมื่อปี 2004 ได้ทำลายหมู่บ้านของชาวมอแกนเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาทางรัฐบาลไทยได้สั่งให้พวกเขาย้ายออกไปอยู่บนชายฝั่ง และชาวมอแกนบางส่วนถูกใช้ให้ทำงานในสวนอุทยานแห่งชาติแทน
“ซึ่งมันเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากมาก” กิสเลนกล่าว “ในความปรารถนาของเราที่อยากให้พวกเขาใช้ชีวิตอยู่อย่างปลอดภัย แต่ในทางกลับกันทำให้พวกเขาได้สูญเสียเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของตัวเองไป”

ในการวิจัยของเขาที่ยังไม่ได้มีการเผยแพร่ กิสเลนยังได้กลับไปทดสอบความสามารถดังกล่าวต่อกลุ่มเด็กๆ กลุ่มเดิมที่เคยทดสอบมาก่อนหน้านี้ การดำเนินการทดลองที่ในตอนนี้พวกเขาอยู่ในช่วงของวัยรุ่น ซึ่งปรากฏว่าพวกเขาก็ยังคงสามารถมองเห็นใต้น้ำได้อย่างชัดเจนเหมือนเดิม
แต่น่าเสียดายที่เด็กๆ ที่ได้รับการทดสอบโดยกิสเลนกลุ่มนี้ อาจเป็นเด็กกลุ่มสุดท้ายของเด็กชาวมอแกนที่สามารถมองเห็นใต้น้ำก็เป็นได้
“เด็กๆ ชาวมอแกนสมัยนี้ไม่ได้ใช้เวลาไปกับท้องทะเลมากเท่าสมัยก่อนอีกต่อไปแล้ว” เขากล่าว “ซึ่งผมเองยังเชื่อว่าจะยังมีเด็กมอแกนที่มีความสามารถพิเศษเช่นนี้อยู่อีก”
แปลจาก http://www.bbc.com/indonesia/vert_fut/2016/04/160407_vert_fut_moken_laut?ocid=socialflow_facebook