ในภาพด้านบนจะเห็นผู้หญิงสัญชาติจามกำลังสาละวนอยู่กับการจับจ่ายซื้อสินค้าในตลาดสดกาเกตในจังหวัดอังเกียงในประเทศเวียดนามเพื่อตระเตรียมอาหารละศีลอด
ซึ่งบรรยากาศทั่วไปคงไม่ต่างกันมากนักระหว่างอินโดนีเซียกับที่เวียดนามที่บรรดาผู้หญิงมักจะแต่งตัวมิดชิดและคลุมด้วยผ้าอีกครั้ง
ในขณะที่บรรดาผู้ชายมักจะนุ่งผ้าโสร่งและหมวกกะปีเยาะฮ์ที่กำลังนั่งอยู่หน้ามัสยิดอัล-อิฮซาน ใกล้กับเมืองเจ้าดอกในจังหวัดอังเกียง
เมื่อช่วงที่เสียงอาซานละหมาดอัสรีได้ดังขึ้นที่มัสยิดอัล-อิฮซาน จะสังเกตว่าพวกเขาจะหยุดพักงานสักพักแล้วพวกเขาจะเดินไปยังมัสยิด
ในหมู่บ้านแห่งนี้จะมีครอบครัวชาวจามประมาณ 600 ครัวเรือน หรือประมาณ 2,000 กว่าคน” อิหม่ามอัลมัสยิดอิลอิฮซานเปิดเผย
ในอดีตพวกจามนับถือศาสนาฮินดู ซึ่งเป็นศาสนาของคนส่วนใหญ่ในอาณาจักรจำปาแห่งนี้ ซึ่งแผ่อิทธิพลไปถึงทางภาคใต้และภาคกลางของประเทศเวียดนาม
แต่หลังจากนั้นพวกเขาค่อยๆ เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามในที่สุด
มุสลิมชาติพันธุ์จาม

กษัตริย์โปเชนถือเป็นองค์สุดท้ายที่เป็นมุสลิม ที่มีผู้ติดตามได้เผยแพร่ศาสนาอิสลามจนถึงอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในฐานะเจ้าสาวแห่งจำปาหรือดาราวาตี (Darawati) ซึ่งหลุมฝังศพของพระองค์อยู่ที่เมืองทรูวูลัน (Trowulan)
เมื่อครั้นราชอาณาจักรจำปาถูกครอบครองโดยเวียดนามในศตวรรษที่ 15 กษัตริย์โปเชนพร้อมผู้ติดตามได้อพยพไปยังเวียดนามตอนใต้และมีบางส่วนได้อพยพไปยังประเทศกัมพูชา
ตึกโดมโบราณมรดกของอาณาจักรจำปาในพื้นที่ตอนกลางในนาตรังดังกล่าว ถูกขึ้นทะเบียนโดยยูเนสโกเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ได้รับการคุ้มครอง
ปัจจุบันนี้ชาวจามที่เป็นชนกลุ่มน้อยในประเทศเวียดนาม ซึ่งมีอยู่ประมาณ 160,000 กว่าคน ในจำนวนของประชากรทั้งหมดในประเทศ 90 ล้านคน
ชาวจามส่วนใหญ่จะเป็นชาวมุสลิมแม้ว่าจะยังคงมีบางส่วนที่ยังยึดถือกับความเชื่อของบรรพบุรุษดั้งเดิมที่ยังคงหลงเหลืออยู่ก็ตาม
มลายูจาม

ในจังหวัดอังเกียงที่นี่พวกเขาจะเรียกตัวเองว่าเป็นชาวจามชาติพันธุ์มลายู ซึ่งไม่น่าเป็นเรื่องแปลกแต่อย่างใด เนื่องจากการผสมผสานของวัฒนธรรมมลายูกับวัฒนธรรมจามในพื้นที่นี้ค่อนข้างจะเห็นได้อย่างเด่นชัด
นับตั้งแต่อดีตจะมีผู้อพยพจำนวนมากที่มาจากประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียไปยังอังเกียง มูฮัมหมัด ยูโซฟอิหม่ามประจำมัสยิมูบารัคที่อยู่ในเขตตันเจ้ากล่าว
นับตั้งแต่อดีตจะมีผู้อพยพจำนวนมากที่มาจากประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย พวกเขาจะแต่งงานกับคนที่นี่ คนจามในเวียดนาม” ยูซุฟกล่าว
ผู้อพยพที่มาจากประเทศมาเลเซียได้มาตั้งรกรากและได้สร้างมัสยิดที่เก่าแก่ที่สุดในหมู่บ้านแห่งนี้ คือมัสยิดมูบารัคเมื่อปี 1750
ชาติพันธุ์จามในจังหวัดแห่งนี้หลายคนจะศึกษาทางด้านศาสนาผ่านทุนการศึกษาจากประเทศต่างๆ เนื่องจากความขาดแคลนของระบบการศึกษาในประเทศเวียดนาม อาจารย์ฆอซาลีได้กล่าว ซึ่งเป็นครูสอนศาสนาประจำมัสยิดมูบารัคแห่งนี้
“มีที่กลับไปศึกษาในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย เมืองมาดีนะฮ์ เด็กๆ เหล่านั้นจะศึกษาโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพราะชาวมุสลิมในเวียดนามไม่ได้มีทุนในการศึกษาที่เพียงพอ ซึ่งเมื่อพวกเขากลับมาจะทำหน้าที่สอนศาสนาในหมู่บ้านต่อไป” ฆอซาลีกล่าว
ฆอซาลีกล่าวว่าพวกที่จบการศึกษาเหล่านั้น จะกลับมาสอนอัลกุรอานให้กับเด็กๆ และเด็กนักเรียนในเวียดนามเป็นส่วนใหญ่
มีเสรีภาพในการประกอบศาสนกิจ
ในจังหวัดอังเกียง มัสยิดอัลอิฮซานแห่งนี้ได้รับงบอุดหนุนจากการบริจาคจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีชาวมุสลิมเป็นชนส่วนใหญ่มาโดยตลอด
ถึงแม้ว่ารัฐบาลของประเทศนี้จะมีความคิดแบบคอมมิวนิสต์ ซึ่งมีระเบียบควบคุมบ้านเมืองอย่างเคร่งครัดก็ตาม แต่สำหรับชาวมุสลิมในเวียดนามสามารถประกอบศาสนกิจได้อย่างเสรี
แม้ว่าในฐานะที่เป็นชนกลุ่มน้อยในประเทศ แต่ทางรัฐบาลเวียดนามยังได้อำนวยความสะดวกให้กับประชาชนชาวจามในด้านต่างๆ ตามที่อาจารย์ประจำคณะเอเชียตะวันออกศึกษาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยออเรนทัลได้อธิบายไว้
“ความช่วยเหลือสนับสนุนและการอำนวยความสะดวกที่รัฐบาลเวียดนามได้ให้กับชาวจามมีจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการศึกษา” เขากล่าว
แต่ว่าการช่วยเหลือของรัฐบาลนั้นยังถือว่ายังไม่เพียงพอที่จะตอบสนองทุกความต้องการในด้านศึกษาศาสนาอิสลาม อิบราเฮมเปิดเผย
“เวียดนามยังขาดสถาบันการศึกษาด้านศาสนาในระดับสูง ตรงกันข้ามกับที่โรงเรียนสอนศาสนาที่นี่มีจำนวนมากด้วยซ้ำ” อิบราฮิมกล่าว
ทำงานอย่างยากลำบาก
นอกจากปัญหาด้านการศึกษาแล้ว ชาวจามที่อยู่ในเวียดนามยังต้องประสบกับการหางานทำที่ยากลำบากอีกด้วย
ชุมชนมุสลิมจามในบริเวณแม่น้ำโขง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เมืองดาพุช(Da Phuoc) ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยอดนิยมสำหรับนักท่องเที่ยว
แต่อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่ของประชากรที่นี่ ไม่ได้รับประโยชน์จากนักนักท่องเที่ยวที่มีจำนวนล้านคนแต่อย่างใด จะมีบ้างบางคนที่ยึดอาชีพขายสินค้าประเภทงานฝีมือและการทอผ้าให้กับนักท่องเที่ยว สุไลมานกล่าว
“เราไม่ได้รับประโยชน์จากนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวแต่อย่างใด จะไม่มีพวกเราที่ทำธุรกิจที่นั่น ส่วนใหญ่จะเป็นชาวเวียดนามแทบทั้งสิ้น” เขาอธิบาย
ผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ส่วนใหญ่ทำอาชีพประมง เกษตรกร และค้าขาย แต่ส่วนใหญ่มักจะเดินทางไปทำงานในเมืองที่ต่างๆ
สถานการณ์ที่คนจามที่อาศัยอยู่แถบลุ่มน้ำแม่นํ้าโขงก็พอๆ กับชาวจามที่อยู่ในเมืองเจ้าดอก ตามที่ฆอซาลีได้กล่าวไว้
“ที่นี่มีงานน้อยมาก” ฆอซาลีกล่าว
นายการิมที่เป็นชาวจามคนหนึ่งกล่าวว่า เขาได้ไปทำงานอยู่ในเมืองโฮจิมินห์ภายหลังจากที่จบการศึกษาด้านศาสนาในประเทศมาเลเซีย
“ผมทำงานกับคนมาเลเซียในเมืองโฮจิมินห์ที่บริษัททัวร์แห่งหนึ่งและกำลังอยู่ในช่วงลาพักในเดือนรอมฏอน การิมกล่าว
ที่มา http://www.bbc.com/indonesia/majalah/2015/07/150708_majalah_lipkhas_muslim_vietnam