หน้าแรก ข่าวในประเทศ ข่าวชายแดนใต้

การศึกษาเพื่อสันติภาพ นำมาซึ่งความยุติธรรมให้กับสังคมปาตานี

กลุ่มบูหงารายา (Bunga Raya Group) ร่วมกับกลุ่มภาคประชาสังคมอาเจะฮ์ (Acehnese Civil Society Task Force:ACSTF) ได้ดำเนินโครงการหลักสูตรการศึกษาเพื่อสันติภาพร่วมกัน ซึ่งมีโรงเรียนตาดีกานำร่องในปาตานีจำนวน 10 แห่งทางภาคใต้ของประเทศไทย กิจกรรมนี้ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2015 ปีที่แล้ว

ACSTF ได้ส่งพลังหนุ่มสาวจากอาเจะฮ์จำนวนห้าคน เพื่อมาเป็นครูสอนภายใต้โครงการหลักสูตรการศึกษาเพื่อสันติภาพที่ปาตานี ซึ่งประกอบไปด้วย อิรซาม เมาลานา, ริฎอ ฮิดายาตุลลอฮ์, เฮรมานโต มูฮัมหมัด, เมาลิเดีย อาดินดา และ อัล มูกัรรอมะฮ์

ในการสัมมนาเพื่อทอดบทเรียนการเรียนรู้ในช่วงห้าเดือนของโครงการดังกล่าวที่ผ่านมาในครั้งนี้ จัดขึ้นที มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ที่ผ่านมา ซึ่งพบว่าการมาอยู่ของพวกเขาที่นี่ ไม่ได้เป็นเพียงครูผู้สอนหลักสูตรการศึกษาเพื่อสันติภาพ และภาษามลายูให้กับตาดีกาอย่างเดียวเท่านั้นไม่ แต่การมาอยู่ของพวกเขาเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับสังคมอีกด้วย ในแง่ที่ว่าเริ่มเห็นความสำคัญของการศึกษาของเยาวชน เมาลิเดียกล่าว

อิรซาม เมาลานา ยังกล่าวว่าในด้านความปลอดภัยแล้วเขาและเพื่อนรู้สึกมีความเสี่ยงอยู่เหมือนกัน แต่คนในหมู่บ้านที่พวกเขาอาศัยอยู่ ได้รับรองให้ความรู้สึกของความสงบปลอดภัยทำให้พวกเขาไม่รู้สึกกังวลมากหากมีอะไรที่ไม่น่าปรารถนาเกิดขึ้น

“สังคมที่นี่มีความเป็นหนึ่งเดียวและมีความกระตือรือร้นที่จะให้มีการศึกษาเพื่อสันติภาพ ให้กับคนรุ่นต่อไปในอนาคต อีกทั้งความเป็นจิตอาสาของสังคมปาตานีที่นี่ค่อนข้างมีสูง” เขากล่าว

เฮอมานโต ยังเสริมอีกว่า โครงการนี้มีความสำคัญมาก เมื่อนึกถึงสภาพสังคมในระดับรากหญ้าค่อนข้างมีความเปราะบางอย่างยิ่ง มีคดีอาญาเกิดขึ้นมากมาย และแม้กระทั่งกลุ่มคนหนุ่มสาวยังถูกเพ็งมองในทางที่ไม่ดี
“ความจริงแล้วเราทำให้เยาวชนเกิดพลังเพื่อหนุนเสริมให้เกิดสันติภาพ พัฒนาบ้านเกิดของตนเพื่อให้เด็กๆ ในอนาคตจะได้มีความปลอดภัย และพวกเขาอาจกลายเป็นคนหนุ่มสาวที่ดีในอนาคต”

ในขณะที่ ริฎอ กล่าวว่า ส่วนประสบการณ์ของเขาในจังหวัดสตูลค่อนข้างมีความลำบากอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว ไม่ใช่ว่าสตูลนั้นเป็นพื้นที่เกิดเหตุการณ์แต่เป็นพื้นที่ที่มีความสงบมากด้วยซ้ำ และความท้าทายในการเรียนการสอนภาษามลายูที่นั่นค่อนข้างมีมากอีกด้วย ซึ่งมีจำนวนน้อยนักเด็กที่สามารถใช้ภาษามลายูในชีวิตประจำวันได้

ในช่วงท้ายของการทอดบทเรียน อัล มูกัรรอมะฮ์ ได้กล่าวย้ำว่า การศึกษาเพื่อสันติภาพและการเรียนภาษามลายู ควรจะนำกลับคืนสู่ในชีวิตประจำวันอีกครั้ง ให้วัฒนธรรมมลายูได้รับการฟื้นฟูกลับมาใหม่ เพื่อให้อัตลักษณ์ตัวตนของปาตานีสามารถมามีชีวิตชีวา มีการพัฒนาและแพร่หลายในการสร้างความสัมพันธ์ในหมู่ประชาชาติมลายูในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้

 

ที่มา http://www.ajnn.net/news/pendidikan-damai-bukan-jalan-keadilan-bagi-rakyat-patani/index.html