เร็วๆ นี้จะมีโครงการดีส่งเสริมสันติวิธีในมิติเด็กเยาวชนชายแดนใต้ซึ่งเป็นอีกหนึ่งโครงการ ภายใต้การสนับสนุนขององค์การช่วยเหลือเด็ก ( Save the Children ) และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) ในชื่อโครงการที่ว่า “การสร้างการมีส่วนร่วมของเด็กและชุมชนเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกระบวนการสันติวิธีในจังหวัดชายแดนใต้” Local Engagement to Advocate for Peace Project (LEAP) โดยได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากสหภาพยุโรป
รัตใจ อัจยุติโภคิน ผู้จัดการโครงการ องค์กรช่วยเหลือเด็ก (Save the Children) กล่าวถึงวัตถุประสงค์โครงการว่าเป็นการเสริมศักยภาพให้แก่เด็กและเยาวชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นจังหวัดชายแดนใต้ อีกทั้งเป็นการส่งเสริมความร่วมมือด้านสังคมในการแก้ไขความขัดแย้ง การคุ้มครองเด็กและเยาวชนให้ดียิ่งขึ้น
“องค์กรภาคประชาสังคมเป็นกลไกสำคัญหลักในการทำงานทางานด้านการคุ้มครองเด็กและเยาวชนในพื้นที่ชายแดนใต้ โดยโครงการมุ่งหวังเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรภาคประชาสังคมในพื้นที่ให้ทำงานได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืนแนวทางการทำงานโครงการและร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการทางานในพื้นที่เมื่อวันที่17 กุมภาพพันธ์ 2559 ณ โรงแรม ซี.เอส. ปัตตานี”
สำหรับภูมิหลังโครงการนั้นชี้ว่า เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ซึ่งดำเนินอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่าสิบปีโดยสถานการณ์ได้ทวีความรุนแรงขึ้นตั้งแต่ปี 2547 ส่งผลให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานทั้งเด็กและผู้ใหญ่ไม่ว่าจะเป็นชาวพุทธหรือมุสลิม ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนี้ความเชื่อมโยงต่อความแตกต่างทางอัตรลักษณ์ ศาสนา ภาษาและวัฒนธรรม
เหตุรุนแรงที่ เกิดขึ้นได้ทำให้หลายพันชีวิตต้องบาดเจ็บและล้มตาย ซึ่งข้อมูลจากโครงการฯ ระบุว่าระหว่างปี 2547 ถึง 2557 มีผู้เสียชีวิต จำนวน 6,034 และผู้บาดเจ็บจำนวน 10,557 คน แม้ตัวเลขความเสียหายที่เกิดกับเด็กจะไม่มีระบุชัดเจน แต่ได้มีการประเมินว่าในช่วงเวลาเดียวกัน มีเด็กต้องเป็นกำพร้าจำนวน 5,500 คน ได้รับบาดเจ็บ 630 คน และเสียชีวิต 120 คน นอกจากนี้ เด็กก็ตกเป็นเป้าหมายของกลุ่มติดอาวุธไม่ต่างจากผู้ใหญ่ เนื่องจากทุก ฝ่ายที่มีความเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งยังขาดความตระหนักถึงความปลอดภัยของเด็กซึ่งนำไปสู่อันตรายต่าง ๆ ที่มีความรุนแรงถึงชีวิตหรือส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อชีวิตของเด็กในระยะยาว
รายงานขององค์การสหประชาชาติประจำปี 2557 ได้ยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่เด็กตกเป็นเหยื่อความรุนแรงซึ่งมีเด็กชายวัยเก้าปี เสียชีวิตจากเหตุระเบิดที่ถูกลอบวางไว้ในร้านไอศกรีมในจังหวัดปัตตานีเมื่อเดือนมีนาคมปี 2556 ซึ่ง นอกจากการได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตแล้วเด็กยังมีความเสี่ยงที่จะถูกผลักดันให้ไปเข้าร่วมกับกลุ่มติดอาวุธ
กรอบการการวิเคราะห์สถานการณ์ของโครงการเห็นว่าขณะที่โรงเรียนและครูเป็นเป้าหมายหลักในการโจมตีของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบอยู่เสมอ การศึกษาต้องหยุดชะงักเมื่อเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงซึ่งเด็กเองก็ได้รับผลกระทบทั้งทางร่างกายและจิตใจรวมไปถึงด้านการเรียนรู้และการพัฒนา โดยผู้ที่ถูกมองว่าให้การสนับสนุน “ฝ่ายตรงข้าม” มักถูกข่มขู่และดูหมิ่น เช่น ครูที่สอนในโรงเรียนไทย ครูในโรงเรียนสอนศาสนา และเด็กที่สมาชิกครอบครัวตกเป็นผู้ต้องสงสัยว่ามีความเกี่ยวข้องกับผู้ก่อความรุนแรง
เด็กที่กำพร้าจากเหตุการณ์ความรุนแรงจำนวนหนึ่ง ก็ยังไม่สามารถเข้ารับความช่วยเหลือด้านการเงินหรือบริการให้ความช่วยเหลือของรัฐบาลได้ด้วยข้อจำกัด ทางกฎหมาย ซึ่งกรณีเหล่านี้มักไม่ได้รับการรายงานและบันทึกลงในฐานข้อมูลด้านการคุ้มครองเด็กอันทำให้ขาดข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำเพื่อนำมาเป็นหลักฐานแสดงผลกระทบของความขัดแย้งที่มีต่อเด็ก
ส่งผลให้เกิดการจำกัดการจัดสรรทรัพยากรของภาครัฐเพื่อป้องกันและตอบสนองต่อปัญหา วิเคราะห์ประเด็นปัญหา ความกังวลเรื่องความปลอดภัยและความไม่ไว้วางใจกันของทั้งสองฝ่าย นับเป็นความท้าทายอย่างยิ่งต่อการยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือและส่งเสริมปฏิสัมพันธ์เชิงสร้างสรรค์ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้ง
อย่างไรก็ตามภาคประชาสังคมในภาคใต้เองก็ยังไม่เข้มแข็งและองค์กรภาคประชาสังคม (civil society organizations : CSOs) ส่วนใหญ่ยังไม่มีสถานะทางกฎหมาย ขาดเงินทุนสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง และไม่มีแนวทางการทำงานที่มีความเชื่อมโยงกัน เด็ก ๆก็ยังไม่มีพื้นที่และส่วนร่วมในเวทีเพื่อแก้ไขความขัดแย้งและสร้างสันติภาพแม้ว่าตนเองจะตกเป็นเป้าหมายในความรุนแรงอยู่บ่อยครั้งในบริบทเช่นนี้ทำให้ชุมชนและองค์กร 3 ภาคประชาสังคมต่างไม่หยุดที่จะเสาะหาแนวทางในการส่งเสริมการเคารพสิทธิมนุษยชนและการปกป้อง คุ้มครองเด็ก
องค์การช่วยเหลือเด็ก หรือ Save the Children ได้ประชุมปรึกษาหารือกับเด็กในจังหวัดปัตตานีและองค์กร ภาคประชาสังคมหลายหน่วยงาน รวมไปถึงสมาชิกของเครือข่ายนิรภัยหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพ (เดิมเรียกว่า โครงการกลุ่มเสียงเด็กเพื่อสันติภาพ หรือ Children’s Voice for Peace Project) ซึ่งเป็น เครือข่ายที่ประกอบไปด้วยองค์กรภาคประชาสังคมในพื้นที่ 30 องค์กรที่ทำงานร่วมกับชุมชนด้านการ คุ้มครองเด็กและยังเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็งมากที่สุดในภูมิภาคอีกด้วย
การประชุมปรึกษาหารือที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นถึงความกังวลร่วมกันว่าจะมีเด็กจำนวนมากขึ้นตกเป็นเหยื่อของความขัดแย้ง ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงหรือเป็นผู้พบเห็นเหตุการณ์ความรุนแรง หากแต่มีองค์กรภาคประชาสังคมเพียงไม่กี่องค์กรเท่านั้นที่รู้สึกว่าจะสามารถทำงานในประเด็นดังกล่าวได้ สืบเนื่องจากความเปราะบางของสถานการณ์
โครงการนี้มุ่งหวังให้เกิดผลลัพธ์ 3 ประการ ซึ่งเป็นผลลัพธ์ในการสร้างความเข้มแข็งต่อการทำงานด้านเด็กในพื้นที่ชายแดนใต้ ได้แก่
ผลลัพธ์ที่ 1: องค์กรภาคประชาสังคมที่ทำงานด้านการคุ้มครองเด็กและเยาวชนในพื้นที่ชายแดนใต้ สามารถพัฒนาศักยภาพขององค์กรได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
ผลลัพธ์นี้จะเน้นไปที่การประเมินและสร้างเสริมศักยภาพของภาคีและองค์กรภาคประชาสังคมในเครือข่าย นิรภัยหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพ เพื่อให้ความพยายามในการผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของ ภาคประชาสังคมมีความเข้มแข็งมากขึ้น และเป็นพลังที่เข้มแข็งในพื้นที่ภาคใต้ในการคุ้มครองเด็ก ทั้งนี้องค์การช่วยเหลือเด็ก (Save the Children) จะให้การสนับสนุนองค์กรภาคประชาสังคม 15 แห่งในการ ประเมินภายในองค์กร ซึ่งรวมไปถึงการระบุความต้องการที่จำเป็นในการพัฒนาองค์กร การพัฒนาและการดำเนินงานตามแผนพัฒนาองค์กร นอกจากนี้องค์การช่วยเหลือเด็ก (Save the Children) จะให้การ สนับสนุนการพัฒนาทักษะเฉพาะด้านอื่นๆ เช่น การตรวจสอบและประเมินผล (Monitoring and Evaluations) และการเงิน เป็นต้น
ผลลัพธ์ที่ 2: องค์กรภาคประชาสังคมมีทักษะความชำนาญในการสร้างกระบวนการให้เด็กและเยาวชนมี ส่วนร่วมและกระตุ้นและพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชน
ผลลัพธ์นี้เป็นการต่อยอดจากผลลัพธ์ที่ 1 โดยองค์การช่วยเหลือเด็ก (Save the Children) จะพัฒนาองค์ ความรู้และทักษะความชำนาญเรื่องการมีส่วนร่วมของเด็กและการสร้างกระบวนการให้เด็กเข้ามามีส่วนร่วมให้แก่มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กและเครือข่ายนิรภัยหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพเพื่อให้การ สนับสนุนการสร้างสันติภาพของเครือข่ายมีประสิทธิภาพมากขึ้น องค์ประกอบนี้จะส่งเสริมการพัฒนางาน ด้านข้อมูลและเพิ่มความเข้าใจเรื่องความขัดแย้งโดยผ่านการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) ซึ่งจะทำร่วมกับเด็กและเยาวชนและเป็นส่วนหนึ่งของผลลัพธ์ที่ 3 โดย ผลจากการวิจัยจะให้ข้อมูลแก่เครือข่ายฯในการพัฒนายุทธศาสตร์การทำงาน และเผยแพร่ไปในวงกว้าง
ผลลัพธ์ที่ 3: องค์กรภาคประชาสังคม างานเชิงรุกเพื่อสร้างกระบวนการให้เด็กและเยาวชนเข้ามามีส่วน ร่วมในงานด้านการคุ้มครองเด็กโดยร่วมมือกับหน่วยงานท้องถิ่น
การทำงานภายใต้ผลลัพธ์นี้จะจัดสรรให้มีกองทุนขนาดเล็กสำหรับโครงการย่อยขององค์กรภาคประชาสังคมที่จะระดมเด็กและเยาวชนที่นับถือศาสนาต่างกันและมาจากกลุ่มวัฒนธรรมที่ต่างกัน มาร่วมทำ กิจกรรมในเวทีต่างๆ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเด็กเพื่อทำให้งานสนับสนุนกระบวนการสันติภาพมี ประสิทธิภาพ และหากลไกเพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วมและบทบาทของหน่วยงานภาครัฐในงานกิจกรรมที่จัด ร่วมกัน
องค์การช่วยเหลือเด็ก (Save the Children) และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กจะให้ทั้งเด็กหญิงและ เด็กชายมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมตลอดโครงการ และมีกิจกรรมที่จัดร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่อย่างน้อย 50% ของกิจกรรมทั้งหมด โดยคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก นอกจากการจัดสรรกองทุนขนาดเล็กแล้ว มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กยังจะทำงานร่วมกับเด็กและเยาวชนในพื้นที่เพื่อสร้างความตระหนักในชุมชนในประเด็นการคุ้มครองเด็กในภาวะความขัดแย้งอีกด้วย
ภายใต้การดำเนินโครงการมองว่าจากเหตุการณ์ความขัดแย้งต่างๆนี้ เด็กเป็นผู้รับผลกระทบโดยตรงจากความรุนแรงที่เกิดขึ้นดังนั้น เด็กจึงควรมีบทบาทในกระบวนการตัดสินใจ ขณะที่กิจกรรมงานรณรงค์สนับสนุนต่างๆ ซึ่งจัดขึ้นเพื่อยุติความรุนแรง อันจะทำให้เปลี่ยนผู้เยาว์จากการตกเหยื่อเป็นผู้สร้างความเปลี่ยนแปลง โครงการชี้ว่า หวังมุ่งให้เด็ก โดยเฉพาะเด็กผู้หญิงได้มีส่วนร่วมในการเจรจาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในตลอดระยะเวลาของโครงการ โดยองค์การช่วยเหลือเด็ก (Save the Children) และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ได้ตั้งเป้าว่าจะช่วยเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากความขัดแย้งจำนวน 1,200 คนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ โดยผ่านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมโดยตรง
นอกจากนี้ทางโครงการคาดหวังว่าจะมีเด็กอีก 744,952 คนในพื้นที่เป้าหมายได้รับประโยชน์ทางอ้อมจากการทำงานเพื่อผลักดันนโยบายให้ดีขึ้นกว่าเดิม ซึ่งองค์การช่วยเหลือเด็ก (Save the Children) จะทำงานร่วมกับองค์กรภาคประชาสังคมอีกกว่า 30 องค์กรที่เป็นสมาชิกเครือข่ายนิรภัยหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพ โดย องค์การช่วยเหลือเด็ก (Save the Children)
โครงการระบุอีกว่าผู้สมัครจะผ่านการคัดเลือกโดยคณะกรรมการขับเคลื่อน ซึ่งประกอบไปด้วยตัวแทนจากเครือข่ายนิรภัยหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพ องค์การยูนิเซฟ (UNICEF) องค์การช่วยเหลือเด็ก (Save the Children) และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก โดยเกณฑ์การคัดเลือกจะได้รับ ความเห็นชอบจากคณะกรรมการ เกณฑ์การคัดเลือกดังกล่าวอาจรวมไปถึงการยอมรับองค์กรจากชุมชน เป้าหมาย ประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาโดยมีพันธะในการทำงานร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ มีบทบาทในการกระตุ้นและพัฒนาศักยภาพให้กับเด็กและเยาวชน และ/หรือการมีบทบาทในการคุ้มครองเด็กหรือร่วมผลักดัน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้นของเด็กผู้หญิง