19 ต.ค. ณ สถาบันสันติศึกษา ม.อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ฯพณฯ เปียร์ก้า ตาปิโอลา เอกอัครราชทูตสหภาพ ยุโรปประจำประเทศไทย เป็นประธานเปิดการเสวนา “ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในฐานะผู้สร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย” แบบ New Normal สไกป์ จากสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยมาในห้องประชุม
นอกจากนี้ในเวทียังมีการบรรยายมาตรฐานและกลไกสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติสำหรับผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 4 โดยมีนักปกป้องสิทธิผู้หญิงจากจังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าร่วมจำนวนหนึ่งด้วย
ฯพณฯ เปียร์ก้า ตาปิโอลา เอกอัครราชทูตสหภาพ ยุโรปประจำประเทศไทย ได้กล่าวระหว่างเปิดพิธี ว่า มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มีเวทีผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในฐานะผู้สร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย เพราะปัจจุบันผู้หญิงทำหน้าทีด้านนี้ดีกว่าผู้ชาย ผู้หญิงแก้ปัญหาชีวิตได้ดีกว่าและรับผิดชอบครอบครัว ผู้หญิงควรได้รับการคุ้มครอง ปกป้องให้เกิดสันติสุข
“ในนามของยูเอ็น ขอส่งเสริมสิทธิสตรีในชายแดนใต้ของไทย เพื่อให้เกิดสันติภาพหลายอย่างเกิดแล้ว หลายอย่างต้องต่อสู่ให้เกิดขึ้น ดังนั้นนักปกป้องสิทธิ์ควรเข้าใจในสิ่งเหล่านี้ เราต้องการให้เกิดสันติภาพ เวทีเสนวนาจะมีการพบปะพูดคุย จะทำให้ผู้หญิงทำหน้าที่ได้ดี เกิดความเข้มแข็งและความยุติธรรมต่อทุกคน ต้องทำงานร่วมกับรัฐบาลไทย ในพันธสัญญาในการปกป้องสิทธิ์ ทุกอย่างต้องใช้เวลา
ในเรื่องของสิทธิมนุษยชน การเคลื่อนไหวต่างๆ การตอบสนองเรื่องนี้ ถ้ามีเจตนาร่วมกันจะบรรลุได้ ถ้ามีการละเมิด เป็นประเด็นที่เราให้ความสนใจ การคุ้มครองสิทธิ์เป็นสิ่งสำคัญของเสถียรภาพของประเทศ ต้องหาเครื่องมือที่ทำให้เข้มแข็งมากขึ้น จำเป็นที่จะนำไปสู่เสถียรภาพของประเทศต่างๆ ต้องทำงานร่วมกัน ดูแลพลเมือง ในสังคม ในโลกปัจจุบัน เราเห็นว่ามีคุณค่า และยินดีสนับสนุนเพื่อสังคมที่ดีขึ้น”
ด้าน ฮานาเอะ ฮันซาว่า OHCHR ผู้ประสานงานโครงการอบรมเพื่อสร้างเสริมศักยภาพของสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (OHCHR) ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้กล่าวระหว่างให้ความรู้และความเข้าใจถึงอนุสัญญาอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ และมติคณะรัฐมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ
The Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination against Women (CEDAW) หรือ อนุสัญญา CEDAW (ซีดอว์) ถือเป็นกฎหมายระหว่างประเทศฉบับแรกที่เป็นเครื่องมือขจัดการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิง สมัชชาใหญ่ของสหประชาชาติฝานกฎหมายระหว่างประเทศฉบับนี้เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2522 (มีผลบังคับใช้เมื่อ 3 กันยายน 2524) อนุสัญญาฉบับนี้มีรัฐภาคี 189 รัฐ (ข้อมูลล่าสุดเมื่อ ก.ย. 2563) การร้องเรียนรายบุคคลและกระบวนการไต่สวนภายใต้พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญา (OP-CEDAW) รับรองเมื่อตุลาคม พ.ศ. 2542 ตั้งกลไกติดตามการปฏิบัติตามอนุสัญญาฉบับนี้ โดยมีผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน (คณะกรรมการซีดอว์)
อนุสัญญาฉบับนี้ใช้การเคารพ ไม่แทรกแซงการใช้สิทธิ ผู้หญิงมีสิทธิเลือกตั้ง การปกป้อง ป้องกันไม่ให้ใครมาแทรกแซงการใช้สิทธิ ห้ามมาตรการการเลือกปฏิบัติต่อแรงงานหญิง ออกมาตรการในการรองรับสิทธิอย่างถาวร ริเริ่มระบบโควต้าในรัฐสภาให้เป็นมาตรการพิเศษชั่วคราว วงจรการรายงานของประเทศไทยให้สัตยาบันเมื่อปี 2528 ทบทวน 4 ครั้ง ทบทวนล่าสุดปี 2560 ทบทวนรอบถัดไป กรกฎาคม 2564
และได้กล่าวถึง ข้อเสนอแนะของซีดอว์ต่อหน้าที่ของรัฐว่า นำมาตรการที่มีประสิทธิภาพมาใช้อย่างทันทีเพื่อคุ้มครองผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนสตรีอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้พวกเขาสามารถทำงานที่สำคัญได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องกลัวหรือเกรงคำขู่ถูกฟ้องร้อง การคุกคาม การใช้ความรุนแรงหรือการขู่ขวัญ รวมถึงโดยการปรึกษาหารือกับผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนสตรีในเรื่องการปรับปรุงประสิทธิภาพของสำนักงานคุ้มครองพยานภายในกระทรวงยุติธรรม
ด้านการขจัดอคติทางเพศ ทำให้การขลิบอวัยวะเพศเป็นความผิดทางอาญา และรณรงค์สร้างความตระหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เรื่องผลกระทบทางลบของการปฏิบัติต่อผู้หญิงและเด็กหญิง ขอให้พิจารณาความเห็นทางกฎหมายหมายเลข 31 ของคณะกรรมการว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี ความเห็นทางกฎหมาย หมายเลข 18 ของคณะกรรมการว่าด้วยสิทธิเด็ก ( ปี 2557) เรื่องการปฏิบัติที่เป็นอันตราย (CEDAW 2560)
ด้านความมั่นคงทางสังคม เพิ่มความพยายามในการยุติความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้และรับประกันว่าทหาร เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย และกลุ่มติดอาวุธที่ไม่ใช่รัฐทำตามพันธะกฏหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ และกฎหมายสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้หญิงและเด็กหญิงที่ไม่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งจากความรุนแรงทุกรูปแบบ (CEDAW 2560)
ด้านความมั่นคงทางสังคม รับรองว่าผู้หญิงที่คู่สมรสหรือสมาชิกในครอบครัวตกเป็นเหยื่อของการละเมิดสิทธิมนุษยชนสามารถเข้าถึงการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพ และได้รับความยุติธรรม รวมทั้งรับรองว่าจะมีการสืบสวนสอบสวนการละเมิดนั้นอย่างรอบคอบ ผู้กระทำถูกดำเนินคดี และถ้าถูกฟ้อง ลงโทษอย่างเหมาะสม ยุติการเก็บดีเอ็นเอทันทีและเยียวยาผู้หญิงและเด็กหญิงที่จำยอมให้ตรวจดีเอ็นเอภายใต้สภาพบังคับอย่างมีประสิทธิภาพ
นางสาวนรีลักษณ์ แพไชยภูมิ ผู้อำนวยการกองสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ กล่าวว่า ในเมืองไทยยังไม่มีนิยามเป็นทางการของนักปกป้องสิทธิ์ ส่วนของยูเอ็น นักปกป้องสิทธิ์คือใครก็ได้ที่ทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์สาธารณะ ในเมืองไทยให้นักปกป้องสิทธิ์มาขึ้นบัญชีไว้ ปัจจุบันรัฐทำแผนเชิงนโยบาย มีการกำหนดให้เป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญ ของแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฉบับที่ 4 ปี 2562-2565 มี 12 กลุ่ม ให้ทุกหน่วยงานเข้าใจบทบาท เฝ้าระวัง ไม่ละเมิด เป็นนโยบายระดับชาติ มีแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ฉบับแรกของประเทศและเอเชีย ลดการละเมิดโดยภาคธุรกิจใน 4 ประเด็น คือ ด้านแรงงาน ชุมชนที่ดิน นักปกป้องสิทธิ ด้านการลงทุนระหว่างประเทศและบรรษัทข้ามชาติเช่นคดีเหมือง เป็นคดีฟ้องปิดปาก ทำความเข้าใจ ไม่สู่การฟ้องร้อง เป็นรูปธรรม
“แผนเชิงกฏหมาย ที่คุ้มครองโดยตรง ป้องกันการดำนนินคดีทางยุทธศาสตร์เพื่อระงับการส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะ ขยายไปสู่ทุกคนที่มีความเสี่ยง มีความปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์ และแผนการจัดตั้งคณะกรรมการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน การจัดทำคู่มือ ลงพื้นที่ติดตาม คุ้มครองพยาน มาตรการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิ์ อยู่ระหว่างการศึกษา การสร้างความรู้ความเข้าใจ การทำงานร่วมกับกรมคุ้มครองสิทธิ รับเรื่องร้องเรียน การขอรับค่าตอบแทน เยียวยาจากรัฐ
สิ่งสำคัญคือการสร้างความเชื่อมั่นระหว่างกัน หาจุดกลางในการทำงาน และทำงานร่วมกันในเชิงสร้างสรรค์”
นางสาวอัญชนา หีมมิหน๊ะ จากกลุ่มด้วยใจ กล่าวว่า มีการละเมิดสิทธิ์ แต่ไม่มีใครมาดูแล ทุกคนสามารถเป็นนักปกป้องสิทธิ์ได้ โดยไม่ใช้ความรุนแรง เคารพสิทธิของคนอื่น ในชายแดนใต้ มีผู้หญิงจำนวนมากที่ทำงานด้านนี้ มีความท้าทายในการทำงาน การลดทอนคุณค่าที่ไม่เชื่อมั่นในการทำงานของผู้หญิง การต่อสู้ร่วมกันและมุมองของเจ้าหน้าที่
ดร.อัณธิฌา แสงชัย อาจารย์จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีและผู้ก่อตั้งทีมฟุตบอลบูคู เอฟซี กล่าวว่า ได้ใช้ร้านหนังสือบูคูให้พูดประเด็นยากได้ง่ายขึ้น พัฒนามาเป็นประเด็นผู้หญิงและความหลากหลายทางเพศ ทำห้องเรียนเพศวิถี ประเด็นแอลจีบีที และค่อนข้างท้าทายด้วยเป็นการทำทีมฟุตบอลหญิง
“ทุกด้านเกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนทั้งหมด หลายเรื่องพูดได้ยากในพื้นที่ จึงออกไปสู่พื้นที่นอกด้วยการเตะฟุตบอล ให้มีพื้นที่ปลอดภัยในชุมขน สนามฟุตบอลเป็นการจำลองชุมชน มันท้าทายมาก ตอนแรกจะทำทีมหญิงล้วน แต่มีแอลจีบีทีด้วย การพูดตรงๆ ก็ท้าทายจึงเลือกการเตะฟุตบอลเป็นภาษาอีกแบบ สร้างพื้นที่ให้พวกเขา เรายืนยันว่าสามารถสร้างพื้นที่ว่าทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้โดยไม่ละเมิดสิทธิ์ต่อกัน เป็นการท้าทายสังคม ช็อคคนในสังคมในบรรทัดฐานทางเพศที่ชัดเจน ทำให้ความสีเทาปรากฏชัดเจน งานของเราคือทำให้ปรากฏตัว”
“โดนกระแสว่าสิ่งที่ทำทำให้เด็กผู้หญิงมุสลิมกลายเป็นทอม เลสเบี้ยน ไปไกลสู่พื้นที่ความหลากหลายทางเพศในพื้นที่ออนไลน์ หลายเรื่องยังพูดและทำงานได้ยากในพื้นที่แห่งนี้ ใช้เวลาในการทำความเข้าใจเพื่อปกป้องคุ้มครองการมีศักดิ์ศรีและความเป็นมนุษย์ การจะบาปหรือไม่บาปเขาต้องคิดเอง ในชายแดนใต้ผู้หญิงทำงานปกป้องเยอะ มีความเสี่ยงในการทำงานและซับซ้อน”
ปัจจุบันนี้ อัณธิฌากำลังดำเนินโครงการฟื้นปัตตานี เพื่อปกป้อง ดูแลสวัสดิภาพ นักกิจกรรมผู้หญิง ดูแลทั้งกายและใจ ให้มีพลังเพียงพอ โดยไม่สูญเสียคุณภาพชีวิตที่ดี