วันเสาร์ 25 มีนาคม 2023

ศิลปะและวัฒนธรรม

หน้าแรก ศิลปะและวัฒนธรรม

สำนักข่าวอามาน จัดงานวันสื่อสันติภาพ คนทำงานด้านสื่อร่วมคับคั่ง ต้องมีการสานต่อทุกๆ ปี

เมื่อไม่กี่วันมานี้ มีการจัดกิจกรรม Peace 4 + สื่อสันติภาพชายแดนใต้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเสริมความรู้วารสารศาสตร์สันติภาพ เสริมบทบาทสื่อมวลชนสร้างสันติสุขชายแดนใต้/ปาตานี โดยสำนักข่าวอามาน (Aman News agency) ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์ความร่วมมือทรัพยากรสันติภาพ หรือ Peace Resource Collaborative (PRC) สหภาพยุโรป (EU) สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย...

เก็บตกสัมนา 3 จชต. สิทธิเขา- สิทธิเรา “โลกตระหนักสิทธิมนุษยชน แต่คนมีอำนาจคิดอีกแบบ”

ประเด็นสิทธิมนุษยชน นับเป็นประเด็นสำคัญ สำหรับประเทศไทยมาแต่ไหนแต่ไร โดยเฉพาะในบริบทความขัดแย้งในพื้นที่ชายแดนใต้เมื่อ ในระยะช่วงหลังๆมานี้ ค่อนข้างจะได้รับความสนใจมากขึ้นไม่เพียงแต่คนในพื้นที่เท่านั้น แต่หมายรวมไปถึงองค์กรต่างประเทศด้วยเช่นกัน คณะอิสลามศึกษาและนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฎอนี ได้จัดกิจกรรมเวทีสัมมนา ทางกฎหมาย ว่าด้วยเรื่อง สิทธิมนุษยชน ภายใต้หัวข้อ “สิทธิเขา สิทธิเรา ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้” ซึ่งมีวิทยากร ดร.พิมพ์รภัช ดุษฎีอิสริยกุล ผู้จัดการโครงการ มูลนิธิฟรีดรีช เนามัน ดร.ฆอซาลี เบ็ญหมัด คณบดีคณะอิสลามศึกษาและนิติศาสตร์ นายแพทย์อนันต์ไชย ไทยประทาน รองประธานสภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี สะท้อนมุมมองในประเด็นดังกล่าวไว้อย่างน่าสนใจ

ปีใหม่ ภาพจำใหม่ คุยกับบาบอมาเซาะเมืองนครศรีฯ “ปอเนาะ” ไม่ได้คิด แบ่งแยกดินแดน

ปีใหม่ 2563 หากจะอยากเห็นอะไรใหม่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้บ้าง หนึ่งในนั้นคงเป็นเรื่อง “ภาพจำใหม่ๆ” ที่เกิดจากอคติของคนในสังคมไทย จนส่งผลกระทบต่อการอยู่ร่วมกันและการแก้ปัญหาภาคใต้ นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ความรุนแรง เมื่อปี 2547 เป็นต้นมา ที่มีภาพจำมากมายของคนในสังคมไทยที่สร้างอคติต่อคนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หนึ่งในนั้น คือ ภาพจำ “สถาบันปอเนาะ” ภาพจำที่มองว่าเป็นแหล่งบ่มเพาะมุสลิมหัวรุนแรง แหล่งบ่มเพาะกลุ่มแบ่งแยกดินแดน และหลายๆ ครั้ง การจับกุม การก่อเหตุต่างๆ บนหน้าสื่อ ก็มักมีข่าวสร้างความเชื่อมโยงกับบุคคล และสถาบันปอเนาะ จนทำให้สายตาในการมอง สถาบันปอเนาะ ในมุมมองของเจ้าหน้าที่ทหาร และคนที่ไม่ใช่มุสลิม เป็นเหมือนดั่งพื้นที่สีเทา

“ฟาตีลาและอารียา” หุ่น CPR ช่วยชีวิตผู้หญิงและตรวจมะเร็งเต้านมสองตัวแรกของโลก

นักวิชาการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี(ม.อ.ปัตตานี) บูรณาการองค์ความรู้ศาสตร์และศิลป์ผลิตหุ่นช่วยชีวิต หรือ CPR ผู้หญิงและตรวจมะเร็งเต้านมตัวแรกของโลกในชื่อ “ฟาตีลาและอารียา” นวัตกรรมจากยางพาราเพื่อเป็นอุปกรณ์ฝึกปฏิบัติต้นแบบช่วยชีวิตและเรียนรู้การช่วยชีวิตผู้หญิง

Save the Children เปิดงานวิจัย “เสียงจากใจเด็กชายแดนใต้”

องค์การช่วยเหลือเด็ก Save the Children ร่วมกับภาคประชาสังคม เปิดงานวิจัย “เสียงจากใจเด็กชายแดนใต้ Children at the Centre” เป็นการร่วมวิจัยแบบมีส่วนร่วมโดยมีเด็กเป็นศูนย์กลางเมื่อต้นปี 2561 รวบรวมมุมมองและความเห็นของเด็กจำนวน 458 คน (หญิง 238 คน ชาย 220 คน) อายุระหว่าง 12-17 ปี เด็กศาสนาพุทธ 21 % เด็กมุสลิม 79 % พบว่า เด็กต้องการมีส่วนร่วมในการสร้างสันติภาพและการตัดสินใจ มีพื้นที่สร้างสรรค์ที่ปลอดภัย Child Safe Space(มัสยิด โรงเรียน บ้าน)

ม.อ.ปัตตานี รับน้องพาเดินท่องเมือง ซึมซับ พหุวัฒนธรรม

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จัดกิจกรรมรับน้องใหม่อย่างสร้างสรรค์ พานักศึกษา 1,500 คน จากท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศ เดิน 7 กม.ให้รู้จัก ซึมซับบรรยากาศของปัตตานี เมืองแห่งพหุวัฒนธรรม

เทคนิคง่ายๆ ในการเพิ่มพลังความจำ

คุณมักจะวางกุญแจผิดที่หรือลืมว่าจอดรถไว้ที่ไหนอยู่บ่อยๆหรือเปล่า? คุณออกจากร้านขายของชำและลืมซื้อของที่จำเป็นหรือชอบลืมว่ากำลังจะพูดอะไรบ้างไหม? การใช้ชีวิตของคุณมีบทบาทสำคัญต่อความรวดเร็วในการคิด ดังนั้นเป็นไปได้ว่าอาการขี้หลงขี้ลืมอาจเป็นผลโดยตรงที่มาจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของคุณ

เด็กเกินครึ่งโลกตกอยู่ในภาวะเสี่ยง ความขัดแย้ง-ยากจน-เลือกปฏิบัติ

“เซฟ เดอะ ชิลเดรน” องค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานเรื่องเด็ก เผยแพร่รายงานซึ่งระบุข้อมูลที่น่าตกใจว่า เด็กราว 1.2 พันล้านคน หรือมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนเด็กในโลก ตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะเจอกับความขัดแย้ง ความยากจน และการเลือกปฏิบัติต่อเด็กผู้หญิง

ม.อ.ปัตตานี เลือกใช้ SEV รถกอล์ฟไฟฟ้า เพื่อใช้สำหรับกิจจการภายใน

ผศ.นพพร เหรียญทอง รองอธิการบดี ฝ่ายระบบสารสนเทศและกายภาพ (ที่ 3 จากขวา) และ ผศ.ดร.นภดล ทิพยรัตน์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ที่ 2 จากขวา) เลือกรถกอล์ฟไฟฟ้า SEV 14 ที่นั่ง จำนวน 3 คัน สำหรับใช้ในกิจการภายในมหาวิทยาลัย

Hand of Life อาสาช่วยคืนชีพกว่า 200 คนในเมืองปัตตานี

เปิดตัวโครงการ Hand of Life การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน เครือข่ายประชาชนเขตเมือง จังหวัดปัตตานี อบรมอาสาสมัครมากว่า 200 คน พร้อมย้ำจะให้ทุกคนในเขตเมืองปัตตานีรู้จักการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานเพื่อช่วยเหลือผู้คนในสังคม

เรื่องล่าสุด