
ด้วยความตระหนักรู้ถึงปัญหาการอพยพของกลุ่มผู้ลี้ภัยที่เกิดขึ้น ณ ตอนนี้ที่นับวันมีจำนวนที่สูงขึ้น จนบางครั้งได้ก่อให้เกิดปัญหา “หนามในอก” ให้กับประเทศมาเลเซียเอง ทั้งนี้มาเลเซียได้ออกมาเรียกร้องให้สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ให้มีมาตรการรองรับที่มีความชัดเจนยิ่งขึ้นในการรับมือกับปัญหาเหล่านี้
รองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ดาโต๊ะ ศรี ดร.อัฮหมัด ซาฮีด ฮามีดีย์ ได้กล่าวอีกว่า ในเมื่อปัญหาการอพยพของกลุ่มผู้ลี้ภัยที่เกิดขึ้น ถือเป็นปัญหาทางด้านความมั่นคงที่มีความท้าทายอยู่ไม่น้อย ซึ่งเป็นเริ่องที่ทางประเทศมาเลเซียกำลังเผชิญอยู่ในตอนนี้ ไม่ว่าจะเป็นการอพยพเข้ามาอย่างถูกต้องตามกฏหมายหรือแม้กระทั่งการลักลอบเข้าเมืองโดยไม่ได้รับอนุญาต
รองนายกรัฐมนตรีมาเลเซียที่ยังเป็นควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอีกด้วย ได้กล่าวว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดการอพยพเข้าเมืองอย่างผิดกฏหมาย ปกติแล้วจะมีความเชื่อมโยงกับการลักลอบเข้าประเทศผ่านธุรกิจการค้าแรงงานต่างชาติผิดกฏหมาย การค้ามนุษย์ การค้ากาม และกลุ่มที่หนีจากการถูกกดขี่ การถูกเลือกปฏิบัติ การกิดอุทกภัย ความยากจน และควมขัดย้างทงอาวุธ
“ผมขอถือโอกาสในครั้งนี้เพื่อเรียนให้ทราบเกี่ยวกับปัญหาและท่าทีใหม่ของมาเลเซียที่มีต่อเรืองผู้ลี้ภัยที่เข้ามาในมาเลเซียนานนับปี ก่อนที่จะถูกส่งกลับไปยังประเทศที่สามต่อไป”
“สิ่งนี้มันอาจส่งผลกระทบต่อปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และความมั่นคงให้กับประเทศในอนาคต เกี่ยวกับเรื่องนี้ ผมใคร่เรียกร้องไปยังสำนักข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ รวมทั้งประเทศที่ให้การสนับสนุนกติกาที่ว่าด้วยปัญหาผู้อพยพปี 1951และเรื่องที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีความสนใจรับผิดชอบเรื่องนี้อย่างจริงจังมากขึ้น และหวังว่าจะมีการนำไปแก้ไขอย่างเร่งด่วน ” เขากล่าว
รองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ได้กล่าวเช่นนี้ ในที่ประชุมสูงสุดในการรับการแก้ไขปัญหากลุ่มผู้อพยพลี้ภัย ผู้ลี้ภัยหรือกลุ่มผู้อพยพครั้งใหญ่ ในโอกาสที่ได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอด ณ สำนักงานสหประชาชาติ (UNGA) ครั้งที่ 71
ดาโต๊ะ ศรี ดร.อัฮหมัด ซาฮีด ฮามีดีย์ ได้กล่าวอีกว่า มีอีกกรณีหนึ่งที่กำลังกัดกร่อนที่แอบซ่อนอยู่ในปัญหากลุ่มผู้อพยพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ลี้ภัยที่อยู่ในมาเลเซียก็คือ ปัญหาการออกบัตรให้กับผู้ลี้ภัยของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติเอง ที่อาจมีการปลอมแปลงขึ้นมาเพื่อออกให้กับพวกเขา
“อย่างไรก็ตามหนึ่งในความพยายามที่เราได้มีการเตรียมการไว้แล้วในการพูดคุยกับทางสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ก็คือ การจัดตั้งหน่วยงานการทำงานร่วมขึ้นมา ( JTF ) ระหว่างรัฐบาลมาเลเซียกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ เพื่อการขึ้นทะเบียนและการออกบัตรสถานะผู้ลี้ภัยให้กับผู้ลี้ภัยที่มีเงื่อนไขครบ แต่อย่างไรก็ตามผลสุดท้ายก็ต้องเป็นสิทธิ์ของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติเอง ในการตัดสินใจออกบัตร” เขากล่าว
รองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ยังได้เน้นย้ำในเรื่องเกี่ยวกับการที่มาเลเซียไม่ได้มองข้ามละเลยความตั้งใจและภาคีร่วมระหว่างประเทศในการรับมือกับปัญหาคลื่นอพยพที่เกิดจากการสู้รบ ปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ ความไม่มี้สถียรภาพของปัญหาการเมืองและความขัดแย้งทางอาวุธ
เขายังกล่าวด้วยว่า ถึงแม้ว่ามาเลเซียไม่ได้เป็นประเทศสมาชิกเกี่ยวกับคอนเวอรืชั่น 1951 และโปรโตคอล 1967 มาเลเซียพร้อมให้การสนับสนุนทางด้านมนุษยธรรมโดยไม่ได้เป็นการก้าวก่ายอธิปไตยแห่งดินแดนและความมั่นคงของแต่ละประเทศแต่อย่างใด
ที่มา http://www.bharian.com.my/node/194279