ทางรัฐบาลเมียนมาได้เปิดพื้นที่การเจรจาสันติภาพอีกครั้งกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อย่างเป็นทางการ ที่ได้ลุกขึ้นมาต่อสู้ด้วยอาวุธมาเป็นเวลายาวนาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการยุติความขัดแย้งที่ได้เป็นตัวบ่อนทำลายความมั่นคงของประเทศมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ
การเจรจาในครั้งนี้มีขึ้นที่กรุงเนย์ปิดอว์ วันนี้ (31 ส.ค.) ที่มีผู้แทนของกลุ่มติดอาวุธเข้าร่วมทั้งหมด 17 กลุ่มด้วยกัน มีนายบัน คี มูน เลขาธิการใหญ่แห่งสหประชาชาติ (UN) เป็นหนึ่งในผู้เข้าร่วมการเจรจาสันติภาพครั้งนี้ รวมถึงนางออง ซาน ซูจี หัวหน้าพรรคเอ็นแอลดี
ทางรัฐบาลเมียนมาหวังว่าจะสามารถโน้มน้าวกลุ่มติดอาวุธต่างๆ ให้ยอมวางอาวุธอย่างถาวร ด้วยการแลกเปลี่ยนกับบทบาทที่ดีกว่า
ทั้งนี้ทางเลขาธิการใหญ่แห่งสหประชาชาติ นายบัน คี มูน จะใช้โอกาสดังกล่าวนี้ในการหยิบยกประเด็นปัญหาชาวโรฮิงญาขึ้นมาหารืออีกด้วย
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาทางรัฐบาลเมียนมา ได้ให้สถานะแก่กลุ่มชาวโรฮิงญาว่าเป็นกลุ่มคนที่อพยพเข้ามาอย่างผิดกฏหมายจากบังคลาเทศ โดยทางกฏหมายแล้วพวกเขาจะไม่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการและไม่มีสิทธิในการออกเสียง
บัน คี มูน ได้กล่าวแก่ผู้สื่อข่าวว่า ทางรัฐบาลเมียนมา “ได้ให้คำมั่นกับข้าพเจ้าเกี่ยวกับเจตนารมณ์ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว”
เขากล่าวด้วยว่า ชาวโรฮิงญา “ต้องการที่จะมิสิทธิในการกำหนดอนาคต ความหวัง และสถานะทางสังคม และนี่ไม่ใช่เป็นแค่ปัญหาของชาวโรฮิงญาเกี่ยวชาติพันธุ์ของพวกเขาแต่อย่างใดไม่”
เมื่อสุดสัปดาห์ที่แล้ว ออง ซาน ซุจี ถูกกล่าวหาว่าได้ละเลยต่อชะตากรรมและสิทธิของชาวโรฮิงยา ได้แต่งตั้งคณะกรรมมาธิการตรวจสอบปัญหาดังกล่าว ที่นำโดยนายโคฟี อันนัน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ
ชาวโรฮิงญานับหมื่นคนที่โดยปกติส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ที่อาศัยอยู่ในเตนท์และตามแหล่งพักพิงต่างๆ ในขณะที่ชาวโรฮิงญาที่อาศัยอยู่ในรัฐยะไข่ ถูกขับไล่ออกจากบ้านเรือนอันเนื่องมาจากความขัดแย้งในชุมชนที่ดำเนินการโดยชาวพุทธหัวรุนแรง
ที่มา http://www.bbc.com/indonesia/dunia/2016/08/160831_dunia_myanmar_suku_adat?ocid=socialflow_facebook