ในประเทศฟิลิปปินส์ตอนนี้ ถือว่ากำลังอยู่ในช่วงของการปราบปรามประกาศสงครามกับยาเสพติดอย่างเต็มรูปแบบ ที่เพิ่งได้รับการอนุมัติจากนโยบายของรัฐบาลภายใต้การนำของประธานาธิบดี โรดริโก ดูเตร์เต เกือบ 2.000 ที่มีผู้เสียชีวิตภายหลังจากการปราบปรามอย่างหนัก ที่ได้เริ่มขึ้นเพียงไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้านี้ ทั้งนี้นักข่าวบีบีซี โจนาธาน เฮิดร์ ได้ทำการแกะรอยเกสะติดของกลุ่มอาชีพมืดนี้ และปฏิบัติการณ์ล่าสังหารที่นำโดยผู้หญิงที่ตกอยู่ภายใต้สถานการณ์ที่ขับขัน
ในช่วงที่ท่านได้พบเจอกับมือปืนที่ได้สังหารผู้คนไปแล้วหกคน ท่านไม่อาจคิดเลยว่า จะต้องเป็นผู้หญิงตัวเล็กๆ ผอมเพรียว พร้อมกับอุ้งบุตรไปด้วย
“ภารกิจแรกของฉันก็คือเริ่มเมื่อปีที่แล้วที่จังหวัดใกล้เคียง ฉันรู้สึกค่อนข้างหวาดกลัว และหวาดระแวง เพราะนั่นถือเป็นครั้งแรกของฉันที่ได้ลงมือทำ”
มาเรีย ไม่ใช่เป็นชื่อจริงของเธอ แต่เธอใช้อำพรางเพื่อภารกิจการสังหารโดยเฉพาะ ในฐานะที่เป็นการสนองนโยบายของรัฐบาลในการปราบปรามและประกาศสงครามกับยาเสพติด
เธอเป็นส่วนหนึ่งของทีมนักล่าสังหารที่ประกอบไปด้วยผู้หญิงทั้งหมดสามคนที่มีค่าตัวสูง เพราะว่าพวกเธอสามารถที่จะเข้าถึงเป้าหมายได้อย่างง่ายดาย โดยปราศจากการสงสัยใดๆ ที่มักเกิดขึ้นกับผู้ชาย
นับตั้งแต่ประธานาธิบดี ดูเตร์เต ได้รับการคัดเลือกเข้ามาดำรงตำแหน่ง เขาได้เรียกร้องกำชับให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ทำการฆาตกรรมสำหรับนักค้ายาเสพติดที่พยายามขัดขืน และเธอเองได้สังหารมาแล้วห้าคนด้วยกัน ซึ่งทุกคนล้วนถูกยิงที่ศรีษะ
ผมยังได้ถามเธอต่ออีกว่า ใครเป็นผู้ว่าจ้างในการสังหารเป้าหมายดังกล่าว “หัวหน้าของฉันที่เป็นนายตำรวจท่านหนึ่ง” เธอกล่าว
เมื่อเย็นวันหนึ่ง ในช่วงที่เราได้พบปะกัน เธอและสามีของเธอได้รับแจ้งว่า บ้านเซฟเฮาสของเธอมีผู้คนกำลังติดตามแล้ว และพวกเขาก็ได้แยกย้ายไปในทันที
สงครามปราบปรามยาเสพติดที่ได้ดำเนินมานั้น ทำให้เธอได้มีงานทำค่อนข้างล้นมือ และย่อมมีอันตรายมากขึ้นตามไปด้วย เธอคิดว่าไม่รู้ว่าภารกิจดังกล่าวจะเริ่มขึ้นได้อย่างไร เมื่อสามีของเธอถูกสั่งให้เริ่มปฏิบัติการณ์สังหารเจ้าหน้าที่ตำรวจคนหนึ่ง ซึ่งเป็นนักค้ายาเสพติดรายใหญ่อีกด้วย
“สามีของเธอถูกใช้ให้ไปสั่งหารคนที่ไม่ยอมจ่ายหนี้ของเขา”
นี่เป็นภารกิจหลักปกติของสามี จนกลายเป็นสถานการณ์ที่มีความเลวร้าย
มีอยู่ช่วงหนึ่ง ที่พวกเขามีความต้องการมือปืนที่เป็นผู้หญิง สามีของเธอจึงได้เสนอให้เธอรับงานไปทำ ซึ่งเมื่อฉันได้เห็นเป้าหมายที่จะสังหารแล้ว ฉันเดินเข้าไปใกล้เหยื่อ ก่อนที่ฉันจะลั่นไกใส่

มาเรียและสามีแต่เดิมเป็นคนพื้นเพมาจากคนที่มีฐานะยากจนในกรุงมะนิลาและไม่ได้มีรายได้ประจำเป็นหลักเป็นแหล่ง ก่อนที่เขาทั้งสองจะตกลงรับงานเป็นมือปืนรับจ้าง
พวกเขาทั้งสองมีรายได้มากกว่า 20.000 เปโซ ต่อการสังหารต่อหนึ่งคน ที่จะต้องแบ่งกับอีกสามหรือสี่คน นั่นเป็นส่วนหนึ่งของผลประโยชน์ที่น่าพอใจสำหรับประชาชนชาวฟิลิปปินส์คนหนึ่ง ที่เคยมีรายได้ต่ำ แต่จยถึงตอนนี้เหมือนว่าไม่มีช่องว่างให้กับเขาทั้งสองที่จะออกจากวงจรมืดดังกล่าวนี้
การจ้างวานฆ่าที่เกิดขึ้น ณ ตอนนี้ ไม่ได้เป็นสิ่งใหม่เลยสำหรับฟิลิปปินส์สำหรับมือปืนรับจ้างนั้น แต่ว่าไม่ได้เป็นที่ต้องระแวงอย่างมากมาย อย่างที่เขาต้องเผชิญอยู่ ณ ตอนนี้
ประธานาธิบดี ดูเตร์เต ได้ส่งสานส์ฉบับหนึ่งที่มีความชัดเจนไปแล้ว ก่อนที่จะได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งว่า เขาประกาศว่าจะสังหารบุคคลไม่น้อย 100.000 คน ในระยะเวลาเพียงหกเดือนแรกในช่วงการบริหารประเทศของเขา
และโดนเฉพาะอย่างยิ่ง เขายังได้ส่งคำเตือนไปยังผู้ค้ายาเสพติดไปแล้วว่า “อย่าได้ทำลายประเทศของเรา เพราะว่าเราจะสังหารพวกท่าน”
อะไรคือสิ่งที่แฝงนัยยะในการรณรงค์ของประธานาธิบดีที่ปราศจากความปราณีแม้แต่น้อย ต่อปัญหาการแพร่หลายของยาเสพติดที่กำลังแพร่อย่างหนักในประเทศฟิลิปปินส์
มีราคาถูก ผลิตได้ง่ายที่ทำให้การเสพติดนั้นเกิดขึ้นอย่างทั่วหลาย ที่มีการออกฤทธิ์ให้ร้สึกเคลิ้มได้อย่างรวดเร็ว ที่กลายเป็นการหนีปัญหาจากชีวิตสำหรับชุมชนที่แออัดและสถานที่สกปรกและทำให้เกิดความน่าเบื่อ ที่ไดแพร่กระจ่ายในหมู่ผู้ใช้แรงงาน
อะไรคือยาเสพติดซาบู?

ซาบูมีราคา 1 เปโซต่อจำนวนหนึ่งกรัม
ซึ่งเสพโดยการดมควั่นหรือการผสมลงในเครื่องดื่ม
ฟิลิปปินส์ถือเป็นแหล่งผลิตที่ใหญ่ที่สุด บางครอบครัวมีการลักลอบผลิตเป็นจำนวนตันๆ ที่ต่อมาได้แพร่ไปในภูมิภาคต่างๆ ของเอเซีย
ประธานาธิบดี ดูเตร์เต ได้ชี้ให้เห็นว่า ปัญหาดังกล่าวนี้ยังได้เผชิญกับประชาชนของฟิลลิปปินส์นับล้านคน นี่ถือเป็นการแสวงหากำไรอย่างมากมาย เขายังพบว่ามีหน่วยงานของรัฐกว่า 150 คนที่เป็นข้าราชการ ผู้หลักผู้ใหญ่และรวมทั้งผู้พิพากษาอีกด้วย ที่ความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับธุรกิจมืด ห้านายตำรวจที่เป็นราชายาเสพติดที่เติบโตมากับธุรกิจยาเสพติด แต่ผู้ที่อยู่ปลายแถวเท่านั้นที่ตกเป็นเป้าการสังหารครั้งนี้
ตามข้อมูลของหน่วยงานตำรวจระบุว่า มีจำนวนกว่า 1.900 คน ที่ถูกสังหารในภารกิจนี้ที่เกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติด นับตั้งแต่ประธานาธิบดี ดูเตร์เต ได้เข้าสู่ตำแหน่งเมื่อวันที่ 30 เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา และข้อมูลยังเปิดเผยด้วยว่าทั้งนี้มีจำนวน 756 ที่เสียชีวิตด้วยน้ำมือของตำรวจ เพราะทั้งหมดมีการขัดขืนในการจับกุมตัว ส่วนจำนวนที่เหลือยังอยู่ในระหว่างการตรวจสอบ
สำหรับการปฏิบัติการทั้งหมดส่วนใหญ่ไม่มีการเปิดเผยราบละเอียดแต่อย่างใด เกือบทั้งหมดเกิดขึ้นในชุมชนแออัดในกรุงมะนิลาและเมืองอื่นๆ ที่มีความยากจน คนขับแท็กซี่คนหนึ่งเปิดเผย
ส่วนใหญ่ตามร่างของผู้เสียชีวิตจะพบจดหมายที่เขียนข้อความเป็นการตักเตือนเพื่อไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด นี่ถือเป็นหนึ่งของการทำสงครามที่มักจะเกิดขึ้นตามชุมชนที่มีความยากจนในประเทศแห่งนี้
แต่นี่ถือเป็นการประกาศสงครามที่กำลังได้รับความสนใจ ที่เมืองโทนโด ที่อยู่ใกล้กับท่าเทียบเรือของกรุงมะนิลา ส่วนใหญ่ของคนในชุมชนแห่งนี้ต่างสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล
พวกเขากล่าวว่า “ยาเสพติด” ทำให้อาชญากรรมมีจำนวนที่เพิ่มขึ้น เป็นการทำลายสภาพชีวิตและความเป็นอยู่ ถึงแม้ว่าจะมีบางกลุ่มกังวลถึงนโยบายดังกล่าวที่จะอยู่เหนือการควบคุมของรัฐบาล ตลอดจนผู้ที่ไม่มีความผิดก็อาจถูกจับก็เป็นได้
อีกหนึ่งของพ่อค้านายใหญ่ที่กำลังถูกติดตามโดยนักสังหารก็คือ โรเกอร์.(นามแฝง)
เขาผู้นี้คือเป็นผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจยาเสพติดนับตั้งแต่วัยหนุ่ม ในช่วงที่เขาทำงานเป็นผู้ใช้แรงงานขั้นต่ำ เฉกเช่นดียวกันกับนักค้ารายอื่นๆ ที่มักจะถูกชักจูงเข้ามาสู่วงการธุรกิจมืด เพราะเป็นอาชีพที่มีความสบายกว่าเมื่อเทียบกับการขายแรงงาน เขามักจะทำงานกับนายตำรวจที่ฉ้อฉล บางครั้งมีการแอบเอาของกลางที่ได้ยืดมาเอาไปจำหน่ายต่อ
ปัจจุบันเขายังอยู่ในระหว่างการหลบหนี เขามีการย้ายไปย้ายมาไปในที่ต่างๆ ในระยะเวลาสั้น เพื่อไม่ให้ถูกจับกุมหรือถูกสังหาร
“ทุกๆ วัน ทุกๆ ชั่วโมง ผมไม่สามารถเอาความหวาดกลัวออกจากความคิดของผมได้แม่แต่น้อย และนั่นมันทำให้ฉันเหนื่อยล้าและรู้สึกหวาดกลัวอยู่ตลอดเวลาที่จะต้องหาที่หลบซ่อนอยู่ตลิดเวลา คุณไม่อาจจะรู้ว่าคนๆ นั้น(นักสังหาร)จะยืนอยู่ต่อหน้าคุณ หรือคนที่คุณกำลังเผชิญอยู่ต่อหน้าอาจเป็นมือปืนก็ได้ ช่างมีความลำบากอย่งยิ่งที่จะข่มตานอนในช่วงกลางคืน แม้แต่เสียงเล็กๆ น้อยๆ ก็สามารถปลุกให้ผมตื่นได้แล้ว และสิ่งที่ยาไปกว่านั้นก็คือผมไม่อาจจะวางใจใครได้เลย ผมไม่อาจรู้ว่าหนทางชีวิตในแต่ละวันของผมจะเป็นยังงัย พร้อมกับการหาที่หลบซ่อนอยู่ทุกวันอย่างไม่หยุด”
เขารู้สึกผิดกับพฤติกรรมของเขาที่ผ่านมา ที่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับการค้าขายยาเสพติด
“ผมเชื่อโดยสนิทใจว่า ผมได้กระทำความผิดลงไป ผมได้กระทำในสิ่งที่ไม่ดีอย่างมากมาย ผมมีความผิดบาปต่อผู้คนมากมายที่ทำให้พวกเขาต้องกลายมาเป็นผู้ติดยาเสพติด เพราะผมเป็นคนหนึ่งบรรดาผู้ค้ายาเสพติดให้กับพวกเขา แต่สิ่งที่ผมพอที่จะพูดได้ก็คือ ไม่ใช่พ่อค้ายาเสพติดทั้งหมดจะเป็นนักอาชญากร นักปล้น หรือแม้กระทั่งฆาตกร ผมคนหนึ่งที่เป็นนักค้ายาเสพติดแต่ผมไม่ใช่เป็นนักปล้นขโมยแต่อย่างใด”
เขาได้ฝากลูกๆ ของเธอไปอยู่กับครอบครัวและภรรยาของเขาที่หมู่บ้านชนบท เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงจากการระบาดของยาเสพติดที่อาจจะเกิดขึ้นกับพวกเขา เขายังบอกด้วยว่าจำนวนของผู้ที่ติดยาเสพติดนั้นอาจมีมากถึง 30% และ 35%
ซึ่งหมายความว่านับตั้งแต่ประธานาธิบดีเดเตอร์ดูได้ออกมาประกาศในช่วงของการรณรงค์ของเขาว่า เขาอาจสั่งเก็บบรรดาผู้ค้ายาเสพติด จะทิ้งร่างของพวกเขาเหล่านั้นในอ่าวมะนิลา
“ใช่ แต่ว่าผมคิดว่ามันอาจส่งผลกระทบต่อแวดวงนักค้ายาเสพติดอย่างแน่นอน ไม่เพียงแต่นักค้ารายย่อยอย่างตัวผมเองเท่านั้น ผมหวังว่าผมยังสามารถที่จะหาทางกลับเนื้อกลับตัวได้อีก แต่เหมือนว่ามันจะสายไปแล้วสำหรับผม ไม่มีโอกาสที่จะมอบตัว เพราะว่าหากผมได้ทำเช่นนั้นไป ทางตำรวจอาจฆ่าผมได้”
มาเรียเองรู้สึกเสียใจกับทางเลือกที่เธอเลือกเดิน
“ฉันรู้สึกผิดและนั่นมันทำให้ฉันทุรนทุราย ฉันไม่อยากให้คนในครอบครัวที่ฉันฆ่าต้องมาหาตามฉัน”
เขารู้สึกกังวลต่อลูกๆ ของเธอที่พวกเขาอาจจะคิด “ฉันไม่ต้องการให้พวกเขามาหาฉัน และกล่าวแก่ฉันว่า การที่ฉันมีชีวิตอยู่ทุกวันนี้ก็เพราะได้เงินจากการรับจ้างฆ่า” ลูกชายของเธอที่เริ่มโตแล้ว ที่มักจะถามว่า เธอและสามีเธอทำอาชีพอะไรถึงได้มีเงินใช้ตังเยอะแยะ
เขาจำเป็นที่จะต้องฆ่าคนอีกหนึ่งคน เพื่อให้ครบตามสัญญาที่เคยรับปสกไว้ และหวังว่าการกระทำดังกล่าวอาจเป็นครั้งสุดท้ายสำหรับเธอ แต่หัวหน้าของเธอกลับข่มขู่ตลอดว่า ใครก็ตามที่คิดจะหนีออกจากวงการนี้เขาจะฆ่าทิ้ง เขารู้สึกตกใจและเขาได้ขอพรไปยังนักบวชในโบสถ์ เพื่อให้อภัยโทษกับความผิดบาปที่เขาได้ก่อขึ้นมา แต่เธอเองยังไม่กล้าที่จะบอกให้รู้ว่าสิ่งที่เขาได้กระทำนั้นคืออะไร
ที่มา http://www.bbc.com/indonesia/majalah/2016/08/160826_majalah_filipina_narkoba?ocid=socialflow_facebook